วันพุธที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

หลัก 7 ประการที่โรงเรียนควรทำให้เป็นกิจวัตรประจำวัน


หลัก 7 ประการที่โรงเรียนควรทำให้เป็นกิจวัตรประจำวัน
“Doing.!”.. The 7 principles of school Routine
บทความนี้ได้ “ดัดแปลง”เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพปัญหา และ การแก้ปัญหา ของสถานศึกษาในประเทศไทย ตามความเป็นจริง Real World ซึ่งสามารถ “สืบค้น”เพื่อหาข้อมูลเพิ่มเติมจากคำภาษาอังกฤษที่ให้ไว้

1.Every morning ceremonial flag pole คือ การเข้าแถวร้องเพลงชาติหน้าเสาธง การสวดมนต์ แผ่เมตตา และฟังการอบรมบ่มเพาะความดีงาม 5 นาทีทุกวันทำการ ใช้คำพูดเชิงบวก หรือ Positive remarks,เสริมกำลังใจ encouragement,ให้ความหวัง หรือ Give Hope ในการปฏิบัติตนเป็นคนดี ต่อตนเอง ครอบครัว และสังคม ถ้าไม่มีสนามหน้าเสาธงให้ใช้หน้าห้องเรียน..Home Room แทนกันไม่ได้ เพราะ Home Room มีไว้เพื่อชี้แนะหรือนัดหมายเป็นรายห้อง..และการอบรมในห้องประชุมสุดสัปดาห์ ก็เป็นการอบรมกรณีพิเศษ เช่น การเชิญวิทยากรจากภายนอก เป็นต้น..

2.Strengthen Self-discipline ฝึกฝนระเบียบวินัยประจำตน ด้วยคุณค่าของวิชา ลูกเสือ เนตรนารี ยุวกาชาด ทำความเข้าใจเข้าใจแก่นแท้และวัตถุประสงค์ที่แท้จริง...ออกแบบ Designวิธีอบรมคุณธรรมให้ไปถึงเป้าหมายหลักของวิชาเหล่านี้..เน้นจิตวิทยา วัยรุ่น..ออกแบบการเรียนการสอนที่เหมาะสม หรือ Design appropriate learning.
***การเรียนรู้คือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การอบรมสั่งสอนและการปฏิบัติด้านจิตใจ “ตามแบบพุทธวิธี According to Buddhist practices” และ หลักการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามหลักทฤษฏีพฤติกรรมศาสตร์ ของ B.F.Skinner เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพยิ่ง..และ มนุษย์เป็นสัตว์สังคมที่ต้องสอนให้เกิดการเรียนรู้เพื่อชีวิต Learn for Life และสามารถสอนได้เสมอ หากคุณครูสามารถเลือกหาวิธีสอนที่เหมาะสมกับ “คุณลักษณะเฉพาะ Characteristic” ของผู้เรียน”***

3.เรียนรู้เรื่อง อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก Convention on the Rights of the Child เรียนรู้สิทธิมนุษยชนและศาสนา Human Rights and Religion สอนหน้าที่พลเมือง และ วิชาศีลธรรม ในฐานะวิชาหลัก
***ครูต้องสอน และทำความเข้าใจในเรื่องเหล่านี้ให้ถ่องแท้ เพื่อ “สร้างกิจกรรมการเรียนรู้”ที่มีประสิทธิภาพ สร้างความเข้าใจ เรื่อง “สิทธิ และ หน้าที่พื้นฐานของความเป็นมนุษย์” สร้างเข้าใจสังคมประชาธิปไตย ที่ยอมรับนับถือความเป็นมนุษย์ที่มีศักยภาพของผู้อื่น รู้จักเลือกใช้ และรับเอา “คุณค่า” เพื่อสร้างสรรค์ความเจริญแห่งตน สังคม ประเทศชาติ และโลก อย่างมีวิจารณญาณ ด้วยความจริงใจ ***

4.Learner Centered มุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ยึดปรัชญาการเรียนรู้ของศตวรรษที่ 21.ซึ่งจุดหมายปลายทางแห่งการเรียนรู้คือ “คิดเป็น ทำเป็น และแก้ปัญหาได้” ในโลกแห่งความเป็นจริง Real World Environment.
***การเรียนการสอน จะประสบความสำเร็จ สร้างคุณสมบัติให้ผู้เรียน มีปัญญาเป็นของตนเองได้ ก็ต้องให้ผู้เรียน “ลงมือเรียนรู้จากภารกิจที่เขาทำด้วยตนเอง คือ Learning by Doing”..การเรียนรู้ด้วยวิธีนี้ คุณครูจึงต้องออกแบบสร้างกิจกรรมสำหรับการเรียนรู้ Teachers need to create activities designed for learning.ตามเนื้อหาของสาระการเรียนรู้เรื่องต่างๆ อันเหมาะสมกับ “วัย และวุฒิภาวะ” ของผู้เรียน..นี้คือภาระแท้จริงของครูแห่งศตวรรษที่ 21.***

5.Learning and Teaching Design ออกแบบการเรียนและออกแบบการสอนทุกครั้ง..และคิดค้นวิธีสอนรายวิชา ให้สอดคล้องกับสภาวการณ์ปัจจุบัน..ยึดหลักการเรียนรู้และสร้างความรู้ในตน “ด้วยตนเอง Self-learning”ตามหลักการ Constructivist Approach Theory เป็นหลักในการเรียนการสอน..และอ้างอิง กรวยประสบการณ์ หรือ Dale’s Cone of Experience ของ ดร.Edgar Dale แห่งมหาวิทยาลัย Ohio State University USA.
***ออกแบบการเรียนการสอนด้วยหลักการของ Backward Design และมีการเรียนการสอนด้วยกิจกรรมสำหรับการเรียนรู้ Activity for Learning ผู้เรียนปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยการลงมือทำ Activity Mission ด้วยตนเอง เรียกว่า Learning by doing นั่นเอง***

6.Solidarity and Unity ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันและมีเอกภาพ หมายความว่า คุณครู และผู้บริหารหลอมรวมใจเป็นหนึ่งเดียว..แต่ละฝ่ายเรียนรู้ “ซึ่งกันและกัน Each Other” เพื่อแสดงบทบาทที่ถูกต้องของตนเอง ในการกำหนดทิศทาง และ จุดหมายปลายทางการเรียนรู้ร่วมกัน
***ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน Solidarity and Unity นี่แหละ..คือกุญแจไขความสำเร็จขององค์กร..เราจึงเรียกร้องให้สถาบันการศึกษา โรงเรียน และสถานศึกษา “เอาความเป็นพี่น้องกลับคืนมาสู่สถาบัน เพื่อสร้างสร้างความสัมพันธ์อันดีในการทำงาน..สร้างระบบการบริหารและการ เรียนรู้ที่เป็นสากล ในรูปแบบ Cooperative and Collaborative Management และผู้บริหารเป็นผู้อำนวยความสะดวกให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพมากยิ่ง ขึ้น School director serves to facilitate the teaching and learning more effective.และคุณครูอำนวยความสะดวกให้นักเรียนสร้างปัญญาของตนเอง Teachers facilitate students to create their own wisdom. อันเป็นหลักการบริหารการเรียนการสอนแห่งศตวรรษที่ 21.***

7.Freedom to teach มีอิสระในการสอน และเลือกวิธีสอน “เพื่อให้ผู้เรียนสามารถสร้างปัญญาของตนเอง” ให้มีคุณภาพตรงตามปรัชญาการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21.นั่นคือ คิดเป็น ทำเป็น และแก้ปัญหาเป็น เมื่อมีปัญหาเข้ามาในชีวิตและการงาน
ท่านที่เคารพ แม้งานครูจะแสนเหนื่อยยาก ในการสอนคนเพื่อให้ “ศิษย์ของเรา” มีศักยภาพ เพียงพอที่จะ “เกิดปัญญาในการดำเนินชีวิตที่มีคุณค่า Learn for Life”..ดังนั้น คนเป็นครูด้วยจิตวิญญาณ “ย่อมไม่ท้อ เมื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า “มนุษย์ทุกคนสามารถสอนให้เปลี่ยนพฤติกรรมได้เสมอ Every man can be taught to change their behavior.”

ขอยืนยันอีกว่า...การเรียนรู้คือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม..วิธีการอบรมสั่ง สอนและการปฏิบัติด้านจิตใจ “ตามแบบพุทธวิธี According to Buddhist practices” และ หลักการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามหลักทฤษฏีพฤติกรรมศาสตร์ ของ B.F.Skinner เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพยิ่ง..และ มนุษย์เป็นสัตว์สังคมที่ “ต้องถูกสอน Must be taught”ให้เกิดการเรียนรู้เพื่อชีวิต Learn for Life และสามารถสอนได้เสมอ หากคุณครูเลือกหาวิธีสอนที่เหมาะสมกับ “คุณลักษณะเฉพาะ Characteristic” ของพวกเขา
อย่าลืมนะครับ "รีบปรับวิธีเรียน เปลี่ยนวิธีสอน ในวันนี้ เพื่ออยาคตที่ดีของชาติบ้านเมืองเรา" เวลาอาจมีไม่พอที่จะตามทันชาติอื่นเขาใน AEC นี้แล้ว....

สุทัศน์ เอกา......บอกความ

วันพฤหัสบดีที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

16 สัญญาณ(อันตราย) ที่บ่งบอกว่าคุณเป็นคนดีเกินไป และกำลังทำร้ายตัวเองอยู่โดยไม่รู้ตัว


16 สัญญาณ(อันตราย) ที่บ่งบอกว่าคุณเป็นคนดีเกินไป และกำลังทำร้ายตัวเองอยู่โดยไม่รู้ตัว

*1.คุณยอมให้คนอื่นแซงคิวเฉย ๆ : *ไม่มีเหตุผลให้คนอื่นแทรกทั้งที่ของของเขาเยอะกว่าคุณ

*2.ไม่มีอะไร “บกพร่อง” ในสายตาคุณเลย : *คุณจะคืนเงินที่แม่ค้าทอนมาเกินให้ แต่จะกล้ารบกวนพนักงานธนาคารให้จัดการเรื่องเงินในบัญชีหายไปแค่หนเดียวเท่า นั้น เพราะกลัวว่าจะรบกวนเกินไป หรือไม่กล้าปฏิเสธเวลาพนักงานแมคถามว่าคุณจะรับฟรายใหญ่ขึ้นไหม

*3.คุณขอโทษเร็ว “มาก” : *คุณรับผิดชอบทุกอย่าง แม้แต่ความหยาบคายและความผิดของคนอื่น

*4.คุณ “บริจาค” ทุกงาน : *ถ้ามีงานการกุศลอะไร คุณจะเป็นคนแรกของลิสต์ขอบริจาคและยังช่วยงานทุกคนไปทั่วด้วย

*5.คุณอ่อนไหวกับ “ความรู้สึกคนอื่น” มากเกินไป : *คนเรียกชื่อคุณผิดหรือเสิร์ฟอาหารผิดเมนู คุณจะไม่แก้ไขหรือขอเปลี่ยนจาน เพราะกลัวว่าจะทำร้ายความรู้สึกพวกเขา

*6.คุณ/โคตร /สุภาพ เป็นประเภทลุกให้ที่คนนั่งบนรถโดยสาร ทั้งที่ไม่มีที่จะยืนบนรถอีกแล้ว จับประตูให้คนอื่นหรือขอบคุณ และครับ/ค่ะ ทุกครั้ง

*7.ภาพลักษณะของคุณคือ “ไอ้อ่อน” : *เป็นบุคคลที่ใครจะวาน จะขอหรือจะทำอย่างไรก็ได้และรู้ว่าคุณไม่ตอบโต้หรือปฏิเสธแน่

*8.คุณสนแต่ว่าคนอื่นจะมีความสุขหรือไม่ : *เป็นคนที่จะซุกตัวล้างจานอยู่ในครัวทั้งที่เป็นปาร์ตี้ของตัวเอง หรือไม่ก็วิ่งวุ่นยกน้ำให้แขกทั้งที่เป็นเจ้างาน

*9.คุณปิดบัง “ความยินดี” ไม่อยู่ : *คุณจะชม ยกนิ้ว กล่าวคำดี ๆ เวลาใครทำอะไรได้ดี เหมือนมีรังสี “ยินดีด้วยนะ” ออกมาจากตัวคุณตลอดเวลา

*10.ถูกหลอกหลอนด้วย “อารมณ์เสียของคนอื่น” : *แม้คุณจะทำดีแค่ไหน แต่ถ้าอีกฝ่ายเป็นคนเจ้าอารมณ์และไม่ยิ้มแย้ม คุณอาจจะตื่นขึ้นมากลางดึกและคิดว่าเป็นความผิดของตัวเองและรู้สึกแย่ชนิด ข้ามวัน

*11ให้ทิปหนักมาก : *หรือให้ทิปเหมือนกฎหมายบังคับอย่างนั้น อย่าลืมว่าพนักงานเสิร์ฟเพียงแต่บริการคุณ ไม่ได้เป็นลูกจ้างคนที่ต้องไปให้เงินเดือนเสริมเขาอีกที

*12.ชื่อกลางของคุณคือ “รอบคอบ” : *ทุกเทศกาลจะส่งการ์ดให้ทุกคนไม่ตกหล่น และอาจเปลี่ยนทิชชูห้องน้ำใหม่ให้ห้องที่เพิ่งย้ายออกอีกด้วย

*13.คุณปกปิดทุกอย่างให้ใครสักคนเสมอ : *ตัวรักษาความลับชั้นดี แถมยังไม่ชักใบให้เรือเสียทั้งที่ควรจะชักตั้งนานแล้ว เช่น รู้ว่าบริษัทไม่ได้ขาดทุนแต่ไม่กล้าถามเรื่องโบนัส ทั้งที่บอสคุณสัญญาไว้ตั้งแต่ปีที่ก่อน

*14.คุณหลงกลพวก “แตหลอ” ง่ายมาก : *เห็นความดีคนง่ายแต่ไม่เห็นความเลวของพวกเขาเท่าไร ใครบีบน้ำตาหน่อย คุณก็เชื่อทันที

*15.ไม่ค่อยขอความช่วยเหลือ : *เพราะคิดว่าจะเป็นภาระให้คนอื่น แม้คนอื่นจะยินดีถมมันลงคุณก็ตาม

*16.คุณเป็นผู้ฟังที่ดี : *คุณสามารถฟังเพื่อนที่มีเวลาเล่าทุกอย่างในขณะที่ไม่เคยฟังอะไรคุณเลยหรือ แม้แต่คนสติไม่ดีที่บอกว่าฟ้าจะถล่มก็ยังยืนฟัง ทั้งหมดนี้เพราะไม่อยากทำร้ายความรู้สึกคนพูดนั่นเอง

(ขอบคุณข้อมูลจาก : yourtango)

วันพุธที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

8 นิสัยการทำงานที่คุณควรจะมี


คนที่ประสบความสำเร็จกับคนที่ไม่ประสบความสำเร็จ

คนที่ประสบความสำเร็จกับคนที่ไม่ประสบความสำเร็จ

7 อุปนิสัย ของผู้ประสบความสำเร็จ


7 Habits of highly effective

1. ต้องเป็นฝ่ายเริ่มต้นก่อน (Be Proactive)
เวลาที่เราต้องการอะไรหรือต้องการจะเริ่มอะไรสักอย่างจะต้องมีตัวกระตุ้น และตัวกระตุ้นจะทำให้เกิดการตอบสนองดังนั้นหากเราเป็นผู้เริ่มต้นก่อนหรือ เป้นตัวกระตุ้นการตอบสนองจะตามมา

2. เริ่มต้นจุดหุ่งหมายในใจ(Begin with the End in Mind)
การที่เราจะเริ่มต้น ก่อนอื่นมันมักจะมาจากสิ่งที่เราคิดในใจ หลักของ “เริ่มต้นด้วยจุดหมายในใจ” นั่นคือการทำสองครั้ง ครั้งแรกเกิดขึ้นในจิตใจ และครั้งที่สอง คือการทำให้สิ่งที่เราคิดเป็นจริง แต่การที่เราจะทุ่มแค่แรงใจอย่างเดียวก็ไม่สามารถเกิดประสิทธิผลได้มันอยู่ กับว่าเราเทความหมายไปในสิ่งที่ถูกต้องหรือไม่ และต้องมีศูนย์รวมในตนเอง และเป็นการที่เราดำเนินชีวิตและตัดสินใจได้จากฐานความชัดเจนในเป้าหมายชีวิต ของเรา สามารถปฏิเสธอย่างไมรู้สึกผิดหากสิ่งนั้นไม่ตรงเป้าประสงค์หลักของเรา

3. ทำตามลำดับความสำคัญ (Put First Things First)
นิสัยที่ 3 เป็นเหมือนภาคปฏิบัติของ นิสัยที่ 1 และ 2 ซึ่งทั้ง การจัดการบริหารเวลา, รู้จักปฏิเสธ, ตารางเวลา เพื่อให้เราทำสิ่งที่สำคัญมากที่สุดก่อน วิธีง่ายๆ ที่จะลองทำคือ เขียนรายชื่อสิ่งที่เราอยากทำ และเราควรทำ ทำสัญญาลักษณ์แบ่งมันออกเป็น 3 ระดับคือ
สำคัญมากเร่งด่วน
สำคัญมากแต่ไม่เร่งด่วน
ไม่สำคัญมากแต่เร่งด่วน
และทำตามลำดับ

4. คิดแบบ ชนะ/ชนะ (Think Win-Win)
จริงๆ แล้วมนุษย์มีกรอบความคิด 6 แบบที่กระทำต่อกัน หนึ่งในนั้นคือการคิดแบบชนะ/ชนะ คือไม่มีผู้แพ้ เป็นข้อตกลงหรือการแก้ไขปัญหาต่างๆ เป็นไปเพื่อให้ทุกฝ่ายได้รับประโยชน์ทั้งสองฝ่าย แต่อย่างไรเสีย ก็ขึ้นอยู่กับสถานการณ์แต่ละสถานการณ์ว่าควรใช้แบบอื่นหรือไม่ หากไม่สามารถหาข้อตกลงแบบ คุณก็ชนะ ฉันก็ชนะได้ ก็ตกลงว่า “จะไม่ตกลง” ณ ขณะนี้เพื่อลดสถานการณ์ที่มีผู้หนึ่งผู้ใดต้องแพ้ จุดตั้งต้นคือต้องเห็นคุณค่าในตัวเอง และเห็นความ Proactive ที่มีค่าของผู้อื่น (I’m Ok, You’re Ok.)

5. เข้าใจคนอื่นก่อนจะให้คนอื่นเข้าใจเรา (Seek First to Understand, Then to be Understood.)
ก่อนบอกความต้องการหรือสิ่งที่เราคิดแล้วอยากให้ผู้อื่นยอมรับ เราต้องให้ความสำคัญและเข้าใจมุมมองของผู้อื่นต่อเรื่องนั้นๆ อย่างลึกซึ้งก่อน และลดการปะทะกัน

6. ประสานพลังงานสร้างสิ่งใหม่ (Synergize)
เกิดจากการยอมรับในคุณค่าของตนเอง และเข้าใจในความแตกต่างที่ผู้อื่นมีมุมมอง ลดการวิพากษ์วิจารณ์อย่างไม่สร้างสรรค์ ซึ่งปิดกั้นความคิดดีๆ ของกลุ่มคนที่อยู่ด้วยกัน มีเพียงความพยามในการเข้าใจในสิ่งที่ตอนแรกเหมือนจะไม่เห็นด้วยเท่านั้น

7. ลับเลื่อยให้คมอยู่เสมอ (Sharpen the saw)
ที่กล่าวมาทั้งหมดตั้งแต่ข้อ 1 – 6 จำนำไปใช้ในชีวิตจริงให้ได้ประสิทธิผลเราต้องมั่นฝึกฝนอุปนิสัยต่างๆ เหล่านั้นอย่างสม่ำเสมอ
“หมั่นลับคมเลื่อยไว้ ยามเมื่อถึงเวลา..จะได้พร้อมใช้”

Credit By  : Stephen Covey
http://ecepost.com/viewtopic.php?id=702012001

วันอังคารที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

10 ลักษณะของคนที่มีภาวะการเป็นผู้นำ

ไม่ว่าใครก็อยากเป็นใหญ่เป็นโต ตาสีตาสาก็อยากมีอำนาจอยู่ในมือ ทว่าอำนาจและความเป็นใหญ่นั้นไม่ได้ได้มาจากการถูกล็อตเตอร์รี่รางวัลที่หนึ่ง หรือมาจากการจับฉลากรางวัลประจำปี แต่สิ่งเหล่านี้ล้วนมาจากความตั้งใจ การแสดงศักยภาพของตัวคุณเอง และการปรับเปลี่ยนระบบความคิด หรือ mindset ของตัวเรา แค่ปรับเพียงเล็กน้อยโอกาสที่ยิ่งใหญ่อาจจะกองรออยู่ตรงหน้า

แล้วจะทำอย่างไรถึงจะก้าวเข้าไปเป็นผู้นำที่ดีได้ วันนี้ UNLOCKMEN นำลักษณะของคนที่มีภาวะการเป็นผู้นำมาฝากอ่านแล้วลองกลับมามองตัวเองว่าคุณมีสักกี่ข้อที่เข้าข่ายคนที่จะก้าวเข้าไปสู่การเป็นผู้นำแถวหน้าได้บ้าง หรือถ้าหากไม่มี คุณจะได้เตรียมตัว และปรับเปลี่ยนความคิดบางอย่างเพื่อผลดีต่อตัวคุณเอง
PD*44827318

1. คุณจะใช้เหตุผลมากกว่าอารมณ์เสมอ
ไม่ว่าจะเป็นผู้นำ หรือผู้ตาม หากคุณปล่อยให้อารมณ์อยู่เหนือเหตุผล ใครจะอยากร่วมงานกับคุณจริงไหมคะ ต่อให้คุณเป็นแม่ค้า เป็นลูกจ้าง การก้าวหน้าในอาชีพของตน ล้วนต้องอาศัย logic ที่พึงมีทั้งสิ้น คุณจำเป็นต้องมีหลักการ มีเหตุผล เพื่อนำมาลบล้างกับความรู้สึกโกรธ หรืออารมณ์เหวี่ยงที่ตนมี แน่นอนว่าสิ่งเหล่านี้มาจากประสบการณ์และการหาความรู้เพิ่มเติมค่ะ ถ้าคุณสามารถนำเหตุผลมาอยู่เหนืออารมณ์ได้แล้ว ไม่ว่าจะทำงานในสายอาชีพอะไร ก็สามารถก้าวหน้าได้ไม่ยาก

2. คุณมักเริ่มต้นจากคำว่า “ทำไม”
ทำไมนกถึงโบยบินบนท้องฟ้าได้ แล้วมนุษย์สามารถขึ้นไปอยู่บนท้องฟ้าได้หรือเปล่า ทำไมถึงมีแต่โลกเท่านั้นที่มีมนุษย์อาศัยอยู่ ดาวดวงอื่นๆ เราสามารถไปอยู่อาศัยได้หรือเปล่า คำถามเหล่านี้ ล้วนตั้งขึ้นเพื่อหาคำตอบทั้งสิ้นค่ะ การเริ่มต้นทำสิ่งต่างๆ ด้วยคำว่าทำไม และสิ่งต่างๆ ที่ถูกตั้งคำถามเหล่านี้ก็กลายเป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่เสมอ ไซม่อน ซิกเนก นักเขียน Best Seller จากหนังสือ Start With Why ได้อธิบายไว้ว่า ผู้คนไม่ได้สนใจว่าคุณทำอะไร แต่พวกเขาสนใจว่าคุณทำทำไมมากกว่า ดังนั้นผู้นำที่ดีก็คือคนที่ตั้งคำถาม และอยากจะหาคำตอบให้กับตัวเอง สำคัญคือมันสามารถนำไปปรับใช้ได้กับทุกสิ่งที่คุณเผชิญ อย่างทำไมเขาถึงไม่รักเรานะ อืม อาจเพราะเราดีไม่พอ ไม่ต้องไปถามเพื่อให้เขาตอบ แต่คุณควรถามเพื่อให้ตัวเองตอบคำถามนี้ให้ได้ แล้วคุณจะไม่กลายเป็นคนที่ฟุ้งซ่านแน่นอน

25044533

3. คิดนอกกรอบเสมอ
คำว่าคิดนอกกรอบ ไม่ได้แปลว่าคุณต้องฉีกกฎทุกอย่างทั้งที่ไม่รู้ว่ากรอบเหล่านั้นมีอะไรบ้าง บางคนมักจะนำคำนี้ไปใช้โดยที่ตัวเขายังไม่เข้าใจเลยว่า การอยู่ในกรอบนั้นเป็นอย่างไร แล้วมีปัจจัยอะไรบ้างที่ทำให้เรายังอยู่ในกรอบแห่งนี้ เมื่อเข้าใจกรอบนี้ดีแล้ว คุณจะสามารถก้าวออกไปนอกกรอบได้อย่างสง่างาม และสามารถสร้างสรรค์สิ่งที่แตกต่างจากคนอื่นได้ ก่อนจะออกนอกกรอบ ต้องเข้าใจกรอบนี้ให้ดีก่อนเป็นดี เพราะผู้นำระดับโลกหลายคน เขาก็เริ่มต้นจากการอยู่ในกรอบ แล้วค่อยก้าวออกไปจากกรอบนี้นั่นเอง

4. คุณเป็นผู้ตามที่ดีเยี่ยม
อ่านถึงข้อนี้อาจจะงงๆ ว่า ภาวะการเป็นผู้นำสูง เกี่ยวข้องอะไรกับการเป็นผู้ตาม โรเบิร์ต เคลลี่ ผู้เขียน The Power of Followership ได้บอกไว้ว่า ผู้ตามที่ดีจะมีความคิดที่ตรงข้ามกับเรา เพราะผู้ตามที่ดีเขาไม่ใช่คนที่จะ Say “Yes” ให้กับทุกอย่าง แต่จะเป็นคนที่กระฉับกระเฉง และมีไอเดียใหม่ๆ ให้กับผู้นำเสมอ และผู้ตามที่ดีจะสามารถพรีเซ้นต์ทุกอย่างได้แม้ขาดผู้นำไป ลองเริ่มต้นเป็นผู้ตามที่ดีก่อนค่ะ อย่าคิดว่าต้องทำงานไปวันๆ รอรับเงินเดือน แต่ให้ทำอย่างเต็มที่ แสดงศักยภาพที่คุณมีออกมาค่ะ เอ้า! ลุยดิ

Reservoir-Dogs

5. ฟังมากกว่าพูด
คนที่รู้มาก ก็เกิดจากการฟังที่มากกว่าคนอื่น ผู้นำในโลกธุรกิจส่วนใหญ่ต่างมีลักษณะพื้นฐานคือการเป็นผู้ฟังที่ดีทั้งสิ้น การฟังเป็นการเก็บเกี่ยวความรู้ต่างๆ มาสั่งสมพอกพูน และใช้ logic ของตนในการตัดสินวิเคราะห์ให้กลายเป็นข้อมูลสำคัญในการพัฒนาองค์ความรู้ที่ตนมี หากคุณฟังคู่แข่งมาก คุณก็จะรู้ได้ไม่ยากเลย ว่าเขามีจุดด้อย จุดเด่นอะไรบ้าง และนี่คือสิ่งสำคัญที่คุณจะนำมาปรับปรุงผลงานของตนให้ก้าวหน้า

6. คุณสามารถสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ยุคนี้ใครๆ ก็เล่น Social Media จริงไหม ไม่ว่าจะเป็น facebook twitter หรือ instagram เราต่างเห็นจุดบอดของมันคือ การที่ผู้รับสารตีความผิดพลาด และสาเหตุหลักๆ ก็คือการส่งสารที่ผิดพลาดของผู้เขียนเอง คนที่จะเป็นผู้นำได้ดี คือคนที่สามารถอุดจุดบอดนี้ได้ เพราะผู้นำจำเป็นจะต้องสื่อสารกับคนหมู่มาก ถ้าการสื่อสารของคุณผิดพลาด คนที่รับคำสั่งจากคุณไป ก็คงไม่สามารถทำงานตอบโจทย์คุณได้ ปีเตอร์ อีโคโนมี่ ผู้เขียน Managing for Dummies ได้พูดถึงหลักการหนึ่งของการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพไว้ว่าให้คำนึงถึง 7 C ได้แก่ Clear (ชัดเจน), Consistent(สอดคล้อง), Credible (น่าเชื่อถือ) , Confident (มั่นใจ) , Civil (สุภาพ) , Concise (กระชับ) และ Compassionate (มีความเห็นอกเห็นใจ) ถ้าคุณสามารถพูด สื่อสาร ด้วยการคำนึงถึง 7C นี้ได้ การก้าวขึ้นเป็นผู้นำอย่างมีประสิทธิภาพ และมีคนนับหน้าถือตาย่อมเป็นเรื่องง่าย

filmes-3325-fotos-americangangster_07

7. คุณไม่เคยลืมที่จะพัฒนาคนที่อยู่ข้างหลัง
เคยสังเกตไหมว่าเจ้าพ่อในหนังมาเฟีย เขาสามารถคุมลูกน้องให้อยู่ในกำมือได้อย่างไร เหตุผลง่ายๆ ก็เพราะเขาไม่ลืมที่จะพาลูกน้องก้าวขึ้นไปสู่ระดับแถวหน้าพร้อมๆ กัน การที่คุณทำงานและคำนึงถึงทุกคนที่อยู่ในทีม นอกจากผลงานจะก้าวหน้าแล้ว ทุกคนยังเติบโต และสามารถพัฒนาธุรกิจและองค์กรให้ก้าวไปได้ ผู้นำที่ดี จะไม่ทิ้งคนที่อยู่ข้างหลัง เพราะต่อให้คุณมีอำนาจ มีเงินทอง และมีความสามารถ คุณก็ต้องอาศัยศักยภาพ และบริหารคนให้เป็นอยู่ดี

8. คุณชอบที่จะเรียนรู้ทุกสิ่งอย่าง
ไม่ว่าคุณจะอยู่ในฐานะไหนในองค์กร การเรียนรู้ไม่มีที่สิ้นสุดค่ะ ใครสอนอะไรพร้อมที่จะเปิดใจรับ และเรียนรู้มันเสมอ การอ่านหนังสือก็เป็นสิ่งจำเป็น เราสามารถเรียนรู้ข้อผิดพลาด และความสำเร็จของคนอื่นได้จากการอ่าน และการฟังประสบการณ์ที่เขาเหล่านั้นนำมาแบ่งปันค่ะ เห็นไหมคะว่าแต่ละข้อจะเชื่อมโยงกันไปมา

ffc39ebe6c87b384c277ca8ce3a63ba4

9. โฟกัสไปที่การแก้ปัญหา มากกว่าการจมอยู่กับปัญหา
การจะก้าวข้ามผ่านไปสู่สิ่งที่ยิ่งใหญ่ได้นั้น ไม่ใช่การนอนจมกับกองของปัญหาต่างๆ แต่คือการลุกขึ้นมาเผชิญหน้ากับปัญหา และแก้ไขมันให้ถึงที่สุด ปลดล็อคปัญหาไปทีละข้อ ไม่ยอมแพ้ และโยนทิ้งมันกลางทาง วันนี้คุณยอมแพ้ ครั้งหน้าคุณก็จะติดนิสัยยอมแพ้มันเรื่อยๆ แล้วเมื่อไหร่เราจะชนะล่ะ จริงไหม

10. คุณไม่กลัวที่จะทำการใหญ่ และไม่กลัวที่จะเป็นฝ่ายตัดสินใจในเรื่องใหญ่ๆ
สำคัญที่สุดคือการตัดสินใจ ผู้นำคือคนที่ต้องทำการใหญ่ มองขาด และตัดสินได้ว่า สิ่งเหล่านั้นควรเป็นไปในทิศทางไหน รวมถึงเป็นคนที่จะรับผิดชอบในการตัดสินใจของตน คุณต้องขจัดความกลัวที่คุณมีให้สิ้น ถ้าคุณอยากก้าวหน้า และเป็นผู้นำได้ ข้อนี้รวมไปถึงเด็กรุ่นใหม่ที่อยากเป็นนายตัวเอง หรืออยากมีกิจการด้วย จำเป็นต้องอาศัยภาวะการเป็นผู้นำทั้งสิ้น
เป็นอย่างไรบ้าง พอจะมีสักข้อไหมคะที่ตรงกับคุณ อาจจะมีสักข้อ หรือสองข้อ แต่นั่นถือเป็นสัญญาณที่ดี หนึ่งข้อก็สามารถนำมาซึ่งสองข้อได้ไม่ยาก แค่ปรับระบบความคิดบางอย่าง เปิดใจ และกล้าที่จะเปลี่ยนจากสิ่งที่ตนเป็น ไปสู่สิ่งที่ดีกว่า การพัฒนาศักยภาพของตัวเองไม่มีวันหมด แต่ไฟที่คุณมีอาจจะหมดได้ทุกเมื่อ เพราะฉะนั้นเริ่มเปลี่ยนแปลงตัวเองซะตั้งแต่วันนี้ดีไหม


ภาพ cover : หนังเรื่อง Nameless Gangster: Rules of the Time
http://www.unlockmen.com/10-signs-you-will-become-great-leader/

มุมมองเพื่อพัฒนาการบริหารการศึกษาไทย ตอนที่ 1 รองศาสตราจารย์ ดร.เอกชัย กี่สุขพันธ์ บริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

วันจันทร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

การบริหารการศึกษาไทยในศตวรรษที่ 21 โดย ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช

แนวทางการกำหนดสัดส่วนความรับผิดชอบทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ หนังสือด่วนที่สุด ที่ กค 0406.2/ว66 ลงวันที่ 25 กันยายน 2550