วันพุธที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

หลัก 7 ประการที่โรงเรียนควรทำให้เป็นกิจวัตรประจำวัน


หลัก 7 ประการที่โรงเรียนควรทำให้เป็นกิจวัตรประจำวัน
“Doing.!”.. The 7 principles of school Routine
บทความนี้ได้ “ดัดแปลง”เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพปัญหา และ การแก้ปัญหา ของสถานศึกษาในประเทศไทย ตามความเป็นจริง Real World ซึ่งสามารถ “สืบค้น”เพื่อหาข้อมูลเพิ่มเติมจากคำภาษาอังกฤษที่ให้ไว้

1.Every morning ceremonial flag pole คือ การเข้าแถวร้องเพลงชาติหน้าเสาธง การสวดมนต์ แผ่เมตตา และฟังการอบรมบ่มเพาะความดีงาม 5 นาทีทุกวันทำการ ใช้คำพูดเชิงบวก หรือ Positive remarks,เสริมกำลังใจ encouragement,ให้ความหวัง หรือ Give Hope ในการปฏิบัติตนเป็นคนดี ต่อตนเอง ครอบครัว และสังคม ถ้าไม่มีสนามหน้าเสาธงให้ใช้หน้าห้องเรียน..Home Room แทนกันไม่ได้ เพราะ Home Room มีไว้เพื่อชี้แนะหรือนัดหมายเป็นรายห้อง..และการอบรมในห้องประชุมสุดสัปดาห์ ก็เป็นการอบรมกรณีพิเศษ เช่น การเชิญวิทยากรจากภายนอก เป็นต้น..

2.Strengthen Self-discipline ฝึกฝนระเบียบวินัยประจำตน ด้วยคุณค่าของวิชา ลูกเสือ เนตรนารี ยุวกาชาด ทำความเข้าใจเข้าใจแก่นแท้และวัตถุประสงค์ที่แท้จริง...ออกแบบ Designวิธีอบรมคุณธรรมให้ไปถึงเป้าหมายหลักของวิชาเหล่านี้..เน้นจิตวิทยา วัยรุ่น..ออกแบบการเรียนการสอนที่เหมาะสม หรือ Design appropriate learning.
***การเรียนรู้คือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การอบรมสั่งสอนและการปฏิบัติด้านจิตใจ “ตามแบบพุทธวิธี According to Buddhist practices” และ หลักการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามหลักทฤษฏีพฤติกรรมศาสตร์ ของ B.F.Skinner เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพยิ่ง..และ มนุษย์เป็นสัตว์สังคมที่ต้องสอนให้เกิดการเรียนรู้เพื่อชีวิต Learn for Life และสามารถสอนได้เสมอ หากคุณครูสามารถเลือกหาวิธีสอนที่เหมาะสมกับ “คุณลักษณะเฉพาะ Characteristic” ของผู้เรียน”***

3.เรียนรู้เรื่อง อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก Convention on the Rights of the Child เรียนรู้สิทธิมนุษยชนและศาสนา Human Rights and Religion สอนหน้าที่พลเมือง และ วิชาศีลธรรม ในฐานะวิชาหลัก
***ครูต้องสอน และทำความเข้าใจในเรื่องเหล่านี้ให้ถ่องแท้ เพื่อ “สร้างกิจกรรมการเรียนรู้”ที่มีประสิทธิภาพ สร้างความเข้าใจ เรื่อง “สิทธิ และ หน้าที่พื้นฐานของความเป็นมนุษย์” สร้างเข้าใจสังคมประชาธิปไตย ที่ยอมรับนับถือความเป็นมนุษย์ที่มีศักยภาพของผู้อื่น รู้จักเลือกใช้ และรับเอา “คุณค่า” เพื่อสร้างสรรค์ความเจริญแห่งตน สังคม ประเทศชาติ และโลก อย่างมีวิจารณญาณ ด้วยความจริงใจ ***

4.Learner Centered มุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ยึดปรัชญาการเรียนรู้ของศตวรรษที่ 21.ซึ่งจุดหมายปลายทางแห่งการเรียนรู้คือ “คิดเป็น ทำเป็น และแก้ปัญหาได้” ในโลกแห่งความเป็นจริง Real World Environment.
***การเรียนการสอน จะประสบความสำเร็จ สร้างคุณสมบัติให้ผู้เรียน มีปัญญาเป็นของตนเองได้ ก็ต้องให้ผู้เรียน “ลงมือเรียนรู้จากภารกิจที่เขาทำด้วยตนเอง คือ Learning by Doing”..การเรียนรู้ด้วยวิธีนี้ คุณครูจึงต้องออกแบบสร้างกิจกรรมสำหรับการเรียนรู้ Teachers need to create activities designed for learning.ตามเนื้อหาของสาระการเรียนรู้เรื่องต่างๆ อันเหมาะสมกับ “วัย และวุฒิภาวะ” ของผู้เรียน..นี้คือภาระแท้จริงของครูแห่งศตวรรษที่ 21.***

5.Learning and Teaching Design ออกแบบการเรียนและออกแบบการสอนทุกครั้ง..และคิดค้นวิธีสอนรายวิชา ให้สอดคล้องกับสภาวการณ์ปัจจุบัน..ยึดหลักการเรียนรู้และสร้างความรู้ในตน “ด้วยตนเอง Self-learning”ตามหลักการ Constructivist Approach Theory เป็นหลักในการเรียนการสอน..และอ้างอิง กรวยประสบการณ์ หรือ Dale’s Cone of Experience ของ ดร.Edgar Dale แห่งมหาวิทยาลัย Ohio State University USA.
***ออกแบบการเรียนการสอนด้วยหลักการของ Backward Design และมีการเรียนการสอนด้วยกิจกรรมสำหรับการเรียนรู้ Activity for Learning ผู้เรียนปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยการลงมือทำ Activity Mission ด้วยตนเอง เรียกว่า Learning by doing นั่นเอง***

6.Solidarity and Unity ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันและมีเอกภาพ หมายความว่า คุณครู และผู้บริหารหลอมรวมใจเป็นหนึ่งเดียว..แต่ละฝ่ายเรียนรู้ “ซึ่งกันและกัน Each Other” เพื่อแสดงบทบาทที่ถูกต้องของตนเอง ในการกำหนดทิศทาง และ จุดหมายปลายทางการเรียนรู้ร่วมกัน
***ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน Solidarity and Unity นี่แหละ..คือกุญแจไขความสำเร็จขององค์กร..เราจึงเรียกร้องให้สถาบันการศึกษา โรงเรียน และสถานศึกษา “เอาความเป็นพี่น้องกลับคืนมาสู่สถาบัน เพื่อสร้างสร้างความสัมพันธ์อันดีในการทำงาน..สร้างระบบการบริหารและการ เรียนรู้ที่เป็นสากล ในรูปแบบ Cooperative and Collaborative Management และผู้บริหารเป็นผู้อำนวยความสะดวกให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพมากยิ่ง ขึ้น School director serves to facilitate the teaching and learning more effective.และคุณครูอำนวยความสะดวกให้นักเรียนสร้างปัญญาของตนเอง Teachers facilitate students to create their own wisdom. อันเป็นหลักการบริหารการเรียนการสอนแห่งศตวรรษที่ 21.***

7.Freedom to teach มีอิสระในการสอน และเลือกวิธีสอน “เพื่อให้ผู้เรียนสามารถสร้างปัญญาของตนเอง” ให้มีคุณภาพตรงตามปรัชญาการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21.นั่นคือ คิดเป็น ทำเป็น และแก้ปัญหาเป็น เมื่อมีปัญหาเข้ามาในชีวิตและการงาน
ท่านที่เคารพ แม้งานครูจะแสนเหนื่อยยาก ในการสอนคนเพื่อให้ “ศิษย์ของเรา” มีศักยภาพ เพียงพอที่จะ “เกิดปัญญาในการดำเนินชีวิตที่มีคุณค่า Learn for Life”..ดังนั้น คนเป็นครูด้วยจิตวิญญาณ “ย่อมไม่ท้อ เมื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า “มนุษย์ทุกคนสามารถสอนให้เปลี่ยนพฤติกรรมได้เสมอ Every man can be taught to change their behavior.”

ขอยืนยันอีกว่า...การเรียนรู้คือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม..วิธีการอบรมสั่ง สอนและการปฏิบัติด้านจิตใจ “ตามแบบพุทธวิธี According to Buddhist practices” และ หลักการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามหลักทฤษฏีพฤติกรรมศาสตร์ ของ B.F.Skinner เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพยิ่ง..และ มนุษย์เป็นสัตว์สังคมที่ “ต้องถูกสอน Must be taught”ให้เกิดการเรียนรู้เพื่อชีวิต Learn for Life และสามารถสอนได้เสมอ หากคุณครูเลือกหาวิธีสอนที่เหมาะสมกับ “คุณลักษณะเฉพาะ Characteristic” ของพวกเขา
อย่าลืมนะครับ "รีบปรับวิธีเรียน เปลี่ยนวิธีสอน ในวันนี้ เพื่ออยาคตที่ดีของชาติบ้านเมืองเรา" เวลาอาจมีไม่พอที่จะตามทันชาติอื่นเขาใน AEC นี้แล้ว....

สุทัศน์ เอกา......บอกความ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น