วันพฤหัสบดีที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

เป็นหัวหน้าได้ไง ไม่รู้อะไรซักอย่าง


"ถามอะไรไปก็ตอบไม่ได้ซักอย่าง อะไรเนี่ย ตอนเลือกคนมาเป็นห้วหน้า บริษัทดูแค่อายุงาน หรือว่าเค้าให้จับฉลากวะ"

หลายครั้งเราก็เลือกหัวหน้าไม่ได้นะครับ และหลายครั้งเราก็อาจจะเคยรู้สึกว่า ทำไมหัวหน้าเราไม่เก่งเลยวะ

จริง ๆ ไม่ใช่หลายครั้งที่เราเลือกหัวหน้าไม่ได้ แต่เราเลือกไม่ได้เลยต่างหาก เพราะฉนั้นอย่างแรกที่ต้องทำคือ 
ทำบุญเยอะ ๆ ขอให้ได้หัวหน้าดี ๆ 
อย่างที่สองคือ ทำใจ

เรืองนั้นเอาไว้ก่อน มาว่ากันเรือง หัวหน้าไม่เก่งเท่าลูกน้องดีกว่า
คำถามแรกคือ จริง ๆ เราอยากได้หัวหน้าที่เก่ง หรือ ไม่เก่ง
ถ้าเอาคำถามสั้น ๆ แค่นี้ เดินไปถามคน 100 คน ผมว่ามากกว่า 95 คนจะตอบว่า "ก็ต้องคนเก่งดิพี่ เรืองไรจะไปทำงานกับไม่เก่ง"

ที่นี้ถ้าถามใหม่
A. ทำงานกับคนเก่ง แต่ต้องทำงานตามวิธีการของเค้าทั้งหมด เพราะคนเก่ง ก็ต้องคิดว่าวิธีการของตัวเองดีที่สุดอยู่แล้ว ลูกน้องก็แค่ทำตามที่บอก
B. ทำงานกับคนไม่เก่ง

ถ้าถามแบบนี้ผมเดาคำตอบไม่ได้แน่นอน อาจจะ 50 50 มีเบ้ซ้าย เบ้ขวาแน่นอน
งั้นก็แปลว่าความเก่งไม่ใช่ประเด็นสิ ? อืมน่าคิด

ความเก่งของหัวหน้ายังจำเป็นอยู่ครับ โดยเฉพาะหัวหน้าระดับต้น ๆ เนี่ย ความรู้ทางด้าน Technical ยังมีความจำเป็นอยู่มากในการที่จะเลือกขึ้นมาเป็นหัวหน้า แต่ความรู้ทางด้าน Technical หรือความรู้เฉพาะทางจะลดความสำคัญลงเรือย ๆ แต่ควาามสามารถในการบริหารคน และภาวะผู้นำ จะต้องสูงขึ้นเรือย ๆ แทน

ผู้จัดการจำเป็นต้องรู้มั้ย ว่าจะจองหัองประชุมต้องทำยังไง

อันนี้ยกตัวอย่างแบบสุดโต่งนะครับ คงลูกน้องคนไหนไปถามผู้จัดการหรอกมั้งเนอะ หึหึหึ เอ๊ะ หรือมี
ลูกน้องคนไหนที่เก่งจริง ๆ ถึงจะมีหัวหน้าที่ไม่เก่ง ก็คงไม่กลัวอะไร ดีซะอีกนะ ได้มีวิธีการทำงานเป็นของตัวเอง แล้วก็พูดได้เต็มปากว่าเนี่ย งานผม

หัวหน้าที่มีลูกน้องเก่ง ก็ยิ่งต้องสนับสนุน ไม่ใช่มาขัดแข็งขัดขา กลัวลูกน้องจะเก่งกว่า บริษัทจ้างคุณมาเป็นหัวหน้า ให้บริหารทีมงาน ไม่ใช่ให้มาเก่งแข่งกับลูกน้องนะครับ

ที่สำคัญคือ ต้องรู้จักสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างลูกน้องกับหัวหน้า มีอะไรก็พูดกัน คุยกัน ตกลงกัน
หัวหน้าไม่เก่ง แต่เป็นคนดี และบริหารทีมเป็น ลูกน้องจะเก่งมาจากไหน ก็ให้ความเคารพ และช่วยทำงานได้เต็มที่ เชื่อผมสิ ^^

‪#‎HRTheNextGen‬

วันพุธที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

ประโยคที่ผู้นำที่ดีควรพูด


  เหล่าผู้นำในแต่ละวงการที่ประสบความสำเร็จ พวกเขามีทัศนคติที่ดี อีกทั้งยังสร้างความสัมพันธ์อันดีกับลูกน้องในที่ทำงาน แทนที่จะเป็นคนสั่งการอย่างเดียว โดยทำตัวให้เหมือนเพื่อนร่วมงานระดับเดียวกัน เพื่อสร้างความนับถือ ความเชื่อใจ และความจงรักภักดีต่อนายจ้างมากขึ้น

1. What do you think? ถามหาความคิดเห็น
เจ้านายที่ดีจะรู้ ว่า ลูกน้องของคุณเป็นแหล่งไอเดียใหม่ๆที่เกิดขึ้นได้ไม่ซ้ำกัน เพราะแต่ละคนมีความคิดแตกต่างกัน และเมื่อนายจ้างถามลูกน้องว่ามีความคิดเห็นอะไรบ้าง โดยแสดงความสนใจว่าความคิดเห็นของลูกน้องคุณนั้นมีประโยชน์ต่อการทำงานเป็น อย่างมาก

2. I trust you พูดแสดงออกให้ลูกน้องรู้ว่าคุณเชื่อใจเขา
ลูก น้องทุกคนย่อมต้องการให้นายจ้างของพวกเขาไว้ใจ และเมื่อลูกน้องเห็นว่านายจ้างแสดงออกถึงความเชื่อใจแล้ว พวกเขาก็พร้อมทำงานให้ออกมาดีด้วยความซื่อตรง และไว้ใจนายจ้างกลับด้วย

3. I know you can do it ผมรู้ว่าคุณทำได้
คำพูดให้กำลังใจเสริมสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกน้อง ทำให้ลูกน้องมีความมั่นใจในการทำงาน งานที่ออกมาก็สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี

4. It’s not your Fault ไม่เป็นไร ไม่ใช่ความผิดคุณ
บาง ครั้งเมื่อเกิดปัญหาขึ้นและไม่มีลูกน้องคนไหนสามารถแก้ไขปัญหานี้ได้ อย่ากล่าวโทษ เพราะทุกคนสามารถผิดพลาดกันได้ บอกให้ลูกน้องรู้ว่าสิ่งนี้เราสามารถแก้ไขมันร่วมกันได้

5. I’m proud of you ภูมิใจในตัวพวกคุณ
ทุก คนชอบฟังคนรอบข้าง ไม่ว่าจะพ่อแม่ เจ้านาย หรือคนรอบข้างกล่าวชื่นชม ว่าเขาภูมิใจในตัวพวกเขา โดยเฉพาะคำชมจากเจ้านายว่าภูมิใจในผลงานที่ลูกน้องทำ ช่วยเพิ่มกำลังใจในการทำงาน

6. Please ใช้คำพูดเชิงขอ มากกว่าการออกคำสั่ง
ไม่ ว่าเจ้านายหรือลูกน้อง ทุกคนไม่ชอบถูกสั่งงาน ปรับเปลี่ยนวิธีการพูดใหม่ เลือกคำพูดที่ไม่เหมือนการออกคำสั่ง ใช้ถ้อยคำที่สุภาพเมื่อต้องการให้ลูกน้องทำงานให้

7. Thank you ขอบคุณ
เชื่อหรือไม่ว่า 58% ของการสำรวจลูกน้องในที่ทำงานชอบให้นายจ้างกล่าวแสดงการขอบคุณเมื่อลูกน้องทำงานเสร็จลุล่วง

8. Great idea-let’s do it เป็นความคิดที่ดีมาก ทำต่อไปนะ
เมื่อ นายจ้างได้ความคิดหรือไอเดียดีๆจากลูกน้อง บางครั้งไอเดียหรือความคิดเหล่านี้มีมากจนหยิบมาใช้ไม่หมด พูดให้กำลังใจว่าความคิดที่พวกเขาคิดนั้นดีแล้ว และให้ทำกันต่อไป

9. I’ve always got time for you มีเวลาให้ตลอดเวลา
มี เวลาว่างพบปะกับลูกน้องเท่าที่จะทำได้ เพื่อรับฟังปัญหาและข้อคิดเห็นต่างๆที่พวกเขาอยากพูดหรืออยากบอกกับนายจ้าง เพื่อปรับปรุงแก้ไขให้การทำงานออกมาดียิ่งขึ้น

10. I couldn’t have done it without you สองหัวดีกว่าหัวเดียว
บอก ลูกน้องของคุณว่าพวกเขามีค่ามากแค่ไหนในที่ทำงานแห่งนี้ และงานทุกอย่างนั้นจะไม่สำเร็จและออกมาดีได้เลยถ้าไม่ได้พวกเขาอยู่คอยเป็น กำลังสำคัญ



11. No one is perfect ไม่มีใครสมบูรณ์แบบ
บาง ครั้งการทำงานที่มีข้อผิดพลาด ไม่ควรอย่างยิ่งสำหรับคำพูดซ้ำเติมหรือว่ากล่าว ทางที่ดีนายจ้างควรพูดให้กำลังใจ เพราะทุกอย่างไม่มีอะไรสมบูรณ์แบบที่สุด แต่ให้เอาข้อผิดพลาดนั้นมาเป็นบทเรียน

12. What can I do to help? มีอะไรให้ช่วยได้บ้าง
ลูกน้องทุกคนต้องการให้นายจ้างสนับสนุน และยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือ คอยติดตามความเป็นไปของสิ่งที่เข้าไปช่วยเหลือ

13. I made a mistake ยอมรับเมื่อทำขอผิดพลาด
ไม่ มีลูกน้องคนไหนที่ให้ความเคารพนายจ้างที่ปัดความรับผิดชอบ หรือไม่ยอมรับเมื่อตัวเองทำผิด ซ้ำร้ายยังมีนายจ้างบางประเภทที่ชอบโยนความผิดให้คนอื่นรับช่วงต่อ นายจ้างจำพวกนี้เป็นแบบอย่างที่ไม่ดี และลูกน้องจะเริ่มตีตัวออกห่าง วิธีเรียกความศรัทธาคืนมาที่ไวที่สุดคือยอมรับข้อผิดพลาดของตัวเอง และแก้ไขข้อผิดพลาดนี้ให้ถูกต้อง

14. I need your help อย่าอายที่ต้องขอความช่วยเหลือจากคนที่ด้อยกว่า
เมื่อ ต้องการความช่วยเหลือจากใครซักคน อย่าอายที่ต้องกล่าวขอความช่วยเหลือจากลูกน้องของคุณ เพราะพวกเขาเต็มใจและพร้อมช่วยเหลือคุณอยู่แล้ว

15. Anything is possible ทุกสิ่งเป็นไปได้
ผู้ นำที่ดีนั้นจะรู้ว่าไม่มีข้อจำกัดใดๆที่มาขัดขว้างการทำงานให้สำเร็จได้ คอยเติมเต็มแรงบันดาลใจและข้อมูลที่มีประโยชน์ อีกทั้งยังต้องทำตัวให้เหมือนแก้วที่มีน้ำอยู่แค่ครึ่งเดียว ที่พร้อมรับความรู้ใหม่ๆเข้ามาเติมเต็มได้ตลอดเวลา

16. I’m sorry กล่าวคำขอโทษบ้าง
คำ กล่าวแสดงความเสียใจ หรือขอโทษ เป็นโยคที่ทุกคนต้องการได้ยิน ทั้งยังช่วยรักษาความรู้สึกซึ่งกันและกันได้ดี ถึงแม้จะเป็นเจ้านายหรือนายจ้างก็ตามเมื่อทำผิดก็ควรกล่าวคำขอโทษ

17. I’ve got your back เป็นแนวหลังที่คอยสนับสนุน
ลูกจ้าง ทุกคนย่อมต้องการกองหลังคอยช่วยหนุนและสนับสนุน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับเจ้านายหรือนายจ้างของพวกเขาเอง ใช้อำนาจที่ตัวเองมีในทางที่ดี ทำให้ลูกน้องเชื่อมั่นว่าเขาสามารถไว้ใจเจ้านายของพวกเขาได้ทั้งในเวลาสุข และทุกข์


http://newsupdate.sayhibeauty.com/2016/02/17_20.html?m=1

วันศุกร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

ผู้นำที่ดีควรจะมีเทคนิคในการสื่อสารอย่างไร


เมื่อสองวันก่อน ได้มีโอกาสไปนั่งฟังผู้บริหารระดับสูงของธุรกิจแห่งหนึ่งที่ขึ้นมาแถลง นโยบายของบริษัท และเปิดโอกาสให้พนักงานได้พูดคุยสอบถาม และท่านก็ตอบข้อสงสัย ตอบข้อซักถามพนักงาน พองานจบ ลงจากเวที ก็มีพนักงานอีกกลุ่มหนึ่งที่เดินเข้ามาพูดคุยและสอบถาม ซึ่งท่านเองฟัง พยักหน้า ยิ้ม และตอบคำถามด้วยความใจเย็น ซึ่งภาพรวมที่แสดงออกมานั้น แสดงให้เห็นถึงภาวะผู้นำอย่างเต็มเปี่ยม


ผมนั่งสังเกตดูปฏิกิริยาของพนักงานที่มาร่วมงาน ต่างก็แสดงออกถึงความเชื่อมั่น และความมั่นใจในตัวผู้นำของเขาอย่างมาก ก็เลยมานั่งคิดๆ ดูว่า คนที่เป็นผู้นำที่ดีนั้น จะต้องมีเทคนิคในการสื่อสารที่ดีมากๆ ที่สามารถทำให้พนักงานในองค์กรเกิดความเชื่อมั่นใจตัวผู้นำได้อย่างแท้จริง
เทคนิคในการสื่อสารที่ดีมีอะไรบ้าง ลองมาดูกันครับ
  • ใช้วิธีการสื่อสารที่แตกต่างกันไปตามเรื่อง และคนที่จะสื่อด้วย เวลาที่พูดกับคนกลุ่มใหญ่ ก็ใช้แนวทางที่แตกต่างกับการพูดกับพนักงานเป็นรายบุคคล หรือแม้แต่พนักงานแต่ละคนเองก็ตาม ก็จะต้องใช้วิธีการในการสื่อสารที่แตกต่างกันไป เพราะแต่ละคนนั้นไม่เหมือนกัน ไม่ควรใช้วิธีการเดียวกันกับพนักงานแต่ละคนที่มีความแตกต่างกัน
  • ฟังอย่างเข้าใจในสิ่งที่คนอื่นพูด การ ที่จะสื่อสารให้คนอื่นเข้าใจได้นั้น ก็ต้องเข้าใจคนอื่นก่อน ดังนั้น ผู้นำที่ดีจะเป็นคนที่ตั้งใจฟัง และเข้าใจในสิ่งที่ผู้พูดกำลังสื่อ จะไม่คิดไปเอง หรือไม่เอามุมมองของตนเองไปยัดเยียดใส่คนอื่น แต่จะพยายามเข้าใจมุมมองของผู้อื่นที่สื่อมา และเมื่อเกิดความเข้าใจแล้ว ก็จะทำให้การสื่อสารยิ่งตรงประเด็นมากขึ้น และจะทำให้คนอื่นรู้สึกว่า คนนี้เป็นผู้นำที่น่าคุยด้วย และเข้าใจในสิ่งที่คนอื่นพูดจริงๆ ไม่เหมือนกับบางคน ปากก็บอกกว่าเข้าใจ แต่เอาเข้าจริงๆ ก็สรุปไปอีกทางหนึ่ง และพูดออกนอกประเด็นไปโดยที่ไม่เคยเข้าใจในสิ่งที่คนอื่นพูดเลย
  • ให้คนอื่นพูดให้จบก่อน นี่ก็เป็นสิ่งที่สำคัญอีกประการหนึ่งสำหรับทักษะการสื่อสารของคนที่เป็นผู้ นำที่ดี ปกติผู้นำที่ดีจะไม่พูดแทรก ตัดบท เปลี่ยนเรื่องทันที แต่จะรอให้ผู้พูดพูดจนจบ โดยใช้ภาษากายแสดงออกว่า ตนเองกำลังตั้งใจฟังอยู่ เช่นพยักหน้า ยิ้ม สบตา หรือมีคำพูดเสริมเล็กๆ แม้ว่าเรื่องนั้นจะเป็นเรื่องที่ทราบอยู่แล้ว ก็จะไม่แสดงอาการตัดบทใดๆ แต่จะให้เกียรติอีกฝ่ายหนึ่ง ให้เขาพูดให้จบ แล้วค่อยตอบ
  • รู้จักที่จะใช้คำถาม ผู้ นำที่ดีจะเรียนรู้วิธีการใช้คำถาม ซึ่งโดยทั่วไปก็มักจะเป็นการใช้คำถามแบบปลายเปิด เช่น คำถาม ทำไม เพราะอะไร อย่างไร แบบไหน ที่ไหน ฯลฯ แต่จะไม่พยายามใช้คำถามปลายปิด เช่น ใช่ หรือไม่ เพราะไม่ทำให้เกิดประโยชน์ในการต่อยอดความคิดอะไรเลย ถ้าเราใช้คำถามได้ถูกต้อง เราก็จะได้คำตอบที่ถูกต้องเช่นกัน
  • หลีกเลี่ยงคำพูดประชดประชัน ผม ยังไม่เคยเห็นผู้นำดีๆ ที่ใช้พูดประชดประชันตลอดเวลา หรืออยู่ต่อหน้าคนอื่น หรือใช้คำพูดแดกดัน กระทบกระเทียบ เพื่อให้ตนเองสะใจ และให้ผู้อื่นรู้สึกเจ็บๆ แสบๆ คันๆ จริงๆ แล้ว ไม่มีประโยชน์อะไรเลย มีแต่จะสร้างความขัดแย้ง และสร้างความเจ็บช้ำน้ำใจให้กับผู้อื่นมากกว่า
นอกจากนั้นแล้วก็คงเป็นเรื่องของการใช้น้ำเสียงที่สุภาพ ไพเราะ น่าฟัง และใช้ภาษากายที่เหมาะสมประกอบการสื่อสารในแต่ละครั้ง
ลองพิจารณาถึงลักษณะในการสื่อสารของเราเองดูก็ได้ครับ แล้วลองดูว่า จะต้องพัฒนาในประเด็นไหนบ้าง เพื่อให้เรามีทักษะในการสื่อสารที่ดีขึ้น เพราะการสื่อสารที่ดีนั้นเป็นประตูไปสู่ความสัมพันธ์ที่ดี และเมื่อเกิดความสัมพันธ์ที่ดีแล้ว ทุกสิ่งทุกอย่างในการบริหารจัดการคน ก็จะเกิดสิ่งดีๆ ตามมาด้วยเช่นกันครับ

วันพฤหัสบดีที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

พวกผู้นำที่เก่งมากๆ เขาชอบให้ลูกน้องเถียง


"ผมสังเกตเห็นว่าพวกผู้นำที่เก่งมากๆ เขาชอบให้ลูกน้องเถียง เขาเชื่อว่าเขาจะได้อีกมุมหนึ่ง ล่าสุดเขา (ซิคเว่) ยังบอกว่าเราน่าจะตั้ง Unit ทำเรื่องอินเทอร์เน็ต ผมก็เถียงว่าอย่าตั้งดีกว่า แค่นี้เราก็ Train คนไม่ไหว ผมว่าเรา Focus ดีกว่า เขาก็ยังพูดว่าดีที่เถียง เป็น Culture ที่ดีมากที่มีคนกล้าเถียงซีอีโอ" - ธนา เธียรอัจริยะ อดีตผู้บริหาร DTAC

ถามลูกน้อง : คุณเคยเถียงหัวหน้าคุณมั้ย ทำไมถึงเถียง เถียงเพื่ออะไร เถียงแล้วได้อะไร ไม่กลัวนายเขม่นหรือไง เงินเดือนโบนัสปลายปีน่ะ ไม่อยากได้เยอะรึไงฮ้าาาา

ถามหัวหน้า : คุณเคยปล่อยให้ลูกน้องเถียงคุณมั้ย คุณไม่มีอำนาจบารมีให้น้องเกรงกลัวเลยเหรอ แล้วคุณจัดการกับพวกที่เถียงบ่อย ๆ ยังไง ให้ผลงานแย่ ๆ มันเลยดีมั้ย ทีหลังมันจะได้่ไม่กล้า

เอาจริง ๆ คนส่วนใหญ่ไม่ค่อยกล้าที่จะเถียงหัวหน้าแน่ ๆ แต่สิ่งทีจะทำให้เกิดบรรยากาศของการกล้าที่จะเถียงกันก็คือ "การเปิดใจรับฟังความคิดเห็นของหัวหน้า" นี่ล่ะครับ

Hey boss, open your mind please.....

ถ้าหัวหน้ากล้าที่จะเปิดใจรับฟังความคิดเห็นของลูกน้อง สิ่งที่คุณจะได้รับกลับมาจากลูกน้องก็คือความใกล้ชิดสนิทสนม กล้าที่จะเสนอแนวทางใหม่ ไม่กลัวที่จะพูดความรู้สึกของตนเอง หัวหน้าก็จะรู้จักลูกน้องมากยิ่งขึ้น ในขณะที่ลูกน้องก็รู้สึกว่าตนเองมีคุณค่ามากยิ่งขึ้น มีความผูกพันกับทีมกับองค์กรมากขึ้น ทีมก็จะแข็งแรงขึ้นตามไปด้วย

และการเปิดโอกาสให้ลูกน้องได้แสดงความเห็นนี่ล่ะครับ ที่ทำให้เกิดนวัตกรรมและแนวทางการทำงานใหม่ ๆ ที่มีประสิทธิภาพมากกว่าเดิมมานักต่อนัก

แต่ข้อเสียก็มีนะครับ ยิ่งมากคนก็มากความ เอาแบบเดิมสั่งฉับทีเดียวได้งานเลยไม่ดีกว่าเหรอ ......เป็นหัวหน้าต้องคิดเป็นครับ งานแบบไหน โอกาสแบบไหนที่คุณควรเปิดโอกาสลูกน้องแสดงความคิดเห็น งานแบบไหนที่คุณควรออกคำสั่งแล้วให้ทุกคนทำตาม เพราะไม่ใช่ทุกสถานการณ์ที่จำเป็นจะต้องมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นหรือระดม สมองกัน

แต่เมื่อไหร่ก็ตามที่คุณจะสร้างบรรยากาศของการเถียงกันเพื่อแลกเปลี่ยนความ คิดเห็น คุณต้องรู้จัก "ฟังอย่างตั้งใจ ไม่ใช่แค่ได้ยิน" ลูกน้องพูดอะไรได้แต่พยักหน้า แต่คุณได้ตัดสินในใจไปแล้วว่าจะเลือกทำแบบไหน แบบนี้เสียเวลาครับ เสียอารมณ์ เสียความรู้สึกด้วย รวมถึงจะต้องไม่ Kill Idea ของลูกน้องด้วยนะครับ อย่าตัดบท แต่อดทนฟังเค้าให้จบ คุณอา่จจะเจออะไรดี ๆ ในความคิดของเค้าก็ได้ อุตส่าห์จ้างเค้ามาทำงานด้วย ตอนจ้างก็เลือกมาอย่างดี ใช้ประโยชน์จากเค้าให้เต็มที่กันด้วยนะครับ

การเปิดใจ (Open Mind) มันฝึกฝนกันได้นะครับ ต้องเริ่มที่หัวหน้า จะให้ดีเริ่มที่เบอร์ 1 ขององค์กร แล้วมันจะค่อย ๆ ขยายวงไปทั้งองค์กร ซึ่งรับรองได้ว่าองค์กรคุณจะบรรยากาศดีขึ้นอย่างแน่นอนครับ

ที่มา : พลิกแบรนด์ ธนา เธียรอัจฉริยะ (http://noobhoon.blogspot.com/2015/11/blog-post_29.html)

วันพุธที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

เลี้ยงลูกให้เป็น อย่างนกอินทรีย์


เลี้ยงลูกให้เป็น อย่างนกอินทรีย์…
พ่อแม่นกอินทรีย์ พอจะวางไข่ พ่อแม่นกก็ช่วยกันทำรัง มันจะทำรังแบบไหนลองอ่านดู
 
มันไปเอาแผ่นหินแผ่นใหญ่พอประมาณ บาง ๆ มาวางบนต้นไม้ใหญ่ และสูง เป็นชั้นแรก
มันไปเอากิ่งไม้ใหญ่มาวางทับบนแผ่นหินเป็นชั้นที่ 2
มันไปเอา หนามแหลมมาวางทับกิ่งไม้ใหญ่เป็นชั้นที่ 3
มันไปเอาใบไม้มาวางทับหนามแหลมเป็นชั้นที่ 4
สุดท้ายมันสลัดขนของมันวางทับเป็นขั้นตอนสุดท้าย บนสุด

และมันก็วางไข่ไว้ในรังอันอ่อนนุ่มของขนแม่มันเมื่อไข่ได้ฟักออกเป็นตัวเล็ก ๆ มันก็หาอาหารให้ลูกกินจนอิ่มเมื่อเวลาผ่านไป มันดูว่าลูกพอจะแข็งแรง มันก็จะเอาขนนกชั้นบนสุดออกจนหมด ทำให้ลูกนกรู้สึกตัวเองว่ามันเจอใบไม้แล้ว แข็งจัง ไม่นุ่มเหมือนขนนกที่เคยอยู่

 
หลายวันต่อมา แม่มันก็ค่อย ๆ รื้อใบไม้ออกอีก ก็เจอหนามแหลม ทำให้ลูกนกรู้สึกตัวเองว่าหนามแหลมคมทิ่มแทงตัวตลอดเวลา ทุกครั้งที่พลิกตัว ก็ต้องค่อย ๆอยู่
 
หลายวันต่อมา แม่มันก็ค่อย ๆ รื้อหนามแหลมออกจนหมด ทำให้ลูกนกรู้สึกตัวเองว่า ยืนบนกิ่งไม้ ต้องยืนทรงตัวดี ๆ ไม่อย่างนั้นก็จะตกลงพื้นดินได้ ความสูงของต้นไม้
 
และหลายวันต่อมา เมื่อแม่นกได้ฝึกความอดทนทุกอย่างให้ลูกนกได้สัมผัสแล้ว แม่นกก็รื้อแผ่นหินทิ้ง ก็เหลือแต่กิ่งต้นไม้ ซึ่งไม่สามารถอยู่เป็นรังพักได้อีกแล้ว

แม่นกก็จับลูกบินไปในอากาศที่สูงมากๆ แล้วปล่อยลูกนกลงมา ลอยละลิ่ว เพราะลูกนกยังกางปีกบินไม่เป็น ก็ตกลงมา ซึ่งแม่นกก็คอยดูลูกอยู่ พอลูกเกือบตกถึงพื้น แม่นกก็บินมาโฉบลูกขึ้นไปข้างบนอีก และปล่อยลงมาอีก ทำอย่างนี้เรื่อย ๆ หลาย ๆ ครั้ง จนลูกนกเริ่มกางปีกลอย และสามารถบินอยู่ในอากาศได้

ต่อจากนั้นแม่นกจะฝึกพาลูกออกหากินทุกวัน จนลูกรู้จักหากินได้ พ่อ-แม่นกก็จะบินหนีลูกนกไปไกลแสนไกล โดยไม่กลับมาหาลูกนกอีกเลย
 
เพราะมันถือว่าได้ทำหน้าที่ให้ลูกดีที่สุดแล้ว ลูกสามารถที่จะอยู่ด้วยตัวเองได้แล้วนั่นเอง
เพราะแม่ได้ฝึกทดสอบความอดทน เลี้ยงให้ลูกรู้ความเปลี่ยนแปลงในการอยู่แต่ละขั้นตอนหมดแล้ว และลูกก็ได้สอบผ่านทุกขั้นตอนแล้ว

 

เห็นไหมว่า พ่อแม่นกอินทรีย์ สอนลูกให้แข็งแกร่ง เด็ดเดี่ยว เข้มแข็ง กล้าหาญได้ดีมาก เพราะฉะนั้นเราควรสอนลูกให้อยู่กับธรรมชาติให้ได้ สอนให้ช่วยตัวเอง เข้มแข็ง อดทน รู้จักกินของที่มี
เพราะพ่อแม่ไม่ได้อยู่เลี้ยงดูลูกได้ตลอดไปนั่นเอง ทุกคนต้องตาย เป็นเรื่องปกติ
 
อย่าสอนลูกให้เป็นนกกระจาบก็แล้วกัน 
เพราะนกกระจาบสร้างรังอยู่อย่างสวยงาม อยู่กับพ่อ-แม่อยู่กับรังตลอดไป จะเห็นว่าเป็นครอบครัวใหญ่ไปเลย ร้องหากันเสียงดัง ไปไหนก็ไปกันเป็นขบวน เวลาตกใจตื่นอะไร ก็วิ่งกันแตกรังอย่างไม่เป็นท่าเป็นทางเลย
 
แสดงให้เห็นว่า ใจอ่อน อ่อนแอ ช่วยตัวเองไม่ได้ ต้องอาศัยผู้อื่นอยู่ตลอดเวลา ไม่เข้มแข็ง ไม่อดทน ไม่ต่อสู้ อยู่ตัวเดียวไม่ได้…
 
ขอขอบคุณเนื้อหาจาก : สาระรอบรู้ ทั่วทุกมุมโลก

We learn from the wolf! การเดินเป็นฝูงของหมาป่า

 We learn from the wolf! การเดินเป็นฝูงของหมาป่า

1. สามตัวแรก จะเป็นตัวที่แก่ หรือ ป่วย พวกมันจะนำทางให้ฝูง มิฉะนั้น พวกมันจะถูกทิ้งและพลัดหลงจากฝูง หากโดนบุกทำร้าย พวกมันพร้อมจะพลีชีพเพื่อฝูง
2. ห้าตัวที่ตามมาจากกลุ่มแรก จะเป็นพวกที่แข็งแรงที่สุด
3. กลุ่มตรงกลาง จะเป็นสมาชิกที่เหลือของฝูง
4. กลุ่มปิดท้าย จะเป็นอีกห้าตัวที่แข็งแรงกว่า
5. ท้ายสุด โดดเดี่ยว คือ จ่าฝูง ณ จุดนั้น มันจะสามารถควบคุมทุกอย่างของทั้งฝูงได้ ทั้งการเลือกทางเดินและคาดการณ์การโจมตีของปรปักษ์
6. ฝูงจะปฏิบัติตามจังหวะการเดินของตัวที่อายุมากและการสั่งการของจ่าฝูง โดยที่จะช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และไม่ทอดทิ้งกัน

ความสุขกับความสำเร็จ


ระหว่าง ความสุขกับความสำเร็จ คุณจะเลือกอะไร
.
ขอให้ตอบในใจก่อน แล้วค่อยเลื่อนไปดูต่อนะครับ
.
.
.
.
.
ถ้าคุณเลือกความสุข คุณเลือกผิด!
งั้น เลือกความสำเร็จละกัน ก็ผิดอีก!!
เอ้าา งั้นให้เลือกอะไรล่ะงั้น!?
.
บอกตรงๆเลย คำถามนี้หรือคนที่ถามคำถามนี้งี่เง่าครับ เพราะจริงๆแล้ว เราไม่จำเป็นต้องเลือกเลย
เรื่องจริงก็คือ ทุกคนมีสิทธิที่จะมีความสุขและความสำเร็จไปพร้อมๆกันทั้งสองอย่าง โดยที่ไม่จำเป็นต้องเลือกอะไร
.
และจริงๆของจริงๆคือ คุณไม่จำเป็นต้องมีแค่ 2 อย่างนี้ คุณสามารถมีทั้งความสุข ความสำเร็จ ความร่ำรวย หน้าที่การงานก้าวหน้า มีชื่อเสียง มีคนนับหน้าถือตา มีครอบครัวที่อบอุ่น และมีสุขภาพที่แข็งแรงไปพร้อมๆกันได้หมด
.
บางทีเรามักจะเจอคำถามที่งี่เง่า ให้เลือกทางใดทางหนึ่งเช่น
- ระหว่างเงินกับความสุข จะเลือกอะไร
- ระหว่างงานกับครอบครัว จะเลือกอะไร
- ระหว่างงานกับสุขภาพ จะเลือกอะไร
โอย มีแนวๆนี้อีกเพียบ!!
.
บอกเลยว่าคุณไม่จำเป็นต้องเลือกครับ! เพราะทุกอย่างที่ว่ามา เป็นสิ่งที่คุณสามารถสร้างและมีทุกอย่างไปพร้อมๆกันได้ นี่ไม่ใช่การไปเที่ยวปีใหม่ ที่ถ้าคุณเลือกไปภูเขาแล้วจะอดไปทะเล คุณถึงต้องเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง
.
แต่นี่คือชีวิตที่คุณเป็นเจ้าของ และมีสิทธิ 100% ที่จะเลือกและสร้างชีวิตคุณในแบบที่คุณต้องการ
.
ฟังดูเว่อร์ ขายฝัน ขายตรงมากใช่มะ??
แต่นี่เรื่องจริงครับ หนังสือจิตวิทยานับพันเล่มทุกเล่มบอกตรงกันแบบนี้
.
กลับมาที่คำถามของเรา "ระหว่าง ความสุขกับความสำเร็จ คุณจะเลือกอะไร" คำตอบที่ถูกต้องคือ ชีวิตคุณต้องมีทั้ง 2 อย่างนี้!
.
แต่บางคนมักจะเข้าใจผิดคอนเซปนี้นิดหน่อย เพราะคนส่วนใหญ่มักจะคิดว่าจะต้องมีความสำเร็จก่อนแล้วค่อยมีความสุข
.
ต้องทำงานๆๆๆให้เลื่อนตำแหน่ง หรือธุรกิจขยายเติบโต มีตังค์เยอะๆก่อน แล้วจะมีความสุข บางคนทำงานเก็บตังค์อย่างเดียวไม่ใช้เลย รอมีความสุขในบั้นปลาย
.
จริงๆ เข้าใจงี้ไม่ผิดครับ แต่ออกแนวเสียดายมากกว่า เพราะความสุขไม่ใช่เรื่องของ Future ครับ แต่ความสุขเป็นเรื่องของ Now
.
Albert Schweizer นักเขียนชาวเยอรมันบอกว่า "Success is not the key to happiness. Happiness is the key to success. If you love what you are doing, you will be successful."
.
ความสำเร็จบางทีไม่ได้นำพาความสุขเสมอไป แต่ความสุขต่างหากล่ะ ที่จะนำพาความสำเร็จ ถ้าคุณรักสิ่งที่คุณทำ รักทุกวันที่คุณใช้ชีวิต รักสิ่งคุณเป็นและชอบสิ่งที่คุณมี คุณจะกลายเป็นคนที่ประสบความสำเร็จ
.
ชีวิตเกิดมาครั้งเดียว ชาติหน้ามีจริงรึเปล่าไม่รู้ แต่ชาตินี้มีจริงแน่ๆ ความลับก็คือ คุณสามารถใช้ชีวิตเหมือนขึ้นสวรรค์ได้เลยในชาตินี้ โดยไม่ต้องรอและลุ้นชาติหน้า!
.
มีความสุขกันมากๆทุกวันนะครับทุกคน!
.
Happiness is a choice, not a result. Nothing will make you happy until you choose to be happy!!

วันจันทร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

13 ข้อ ที่การศึกษาฟินแลนด์ ประสบความสำเร็จ


13 ข้อ ที่การศึกษาฟินแลนด์ ประสบความสำเร็จ
TAGS : การศึกษา ฟินแลนด์

ผู้ที่อยู่ในแวดวงการศึกษาคงทราบกันดีว่าฟินแลนด์ถูกยกย่องว่ามีการศึกษาที่ติดอันดับต้นๆ ของโลกมา โดยตลอด ซึ่งระบบการศึกษาของฟินแลนด์มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เรื่อยๆ เพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อผู้เรียนมากที่สุด ซึ่งล่าสุด สำนักข่าวต่างประเทศได้ระบุว่า ฟินแลนด์ยังเตรียมที่จะปรับการเรียนการสอนจากเรียนเป็นวิชา ไปเป็นเรียนตามหัวข้อด้วย
โดยนักเรียนที่นั่นจะไม่ต้องเรียน สังคม คณิตศาสตร์อย่างละชั่วโมง แต่จะเป็นการเรียนรู้ เช่น ชั่วโมงนี้เรียนด้านการบริการในร้านอาหาร เด็กๆก็จะได้ใช้ความสามารถแบบผสมผสาน ทั้งใช้การคิดเงิน การสื่อสารกับลูกค้า และการจัดการอารมณ์ด้วย

Sophia Faridi นักการศึกษาจากสหรัฐฯ ได้เข้าไปดูระบบการศึกษาของฟินแลนด์ และพบว่า 13 ข้อที่ทำให้การศึกษาฟินแลนด์ประสบความสำเร็จก็คือ

1. การเรียนที่ฟินแลนด์เน้นไปที่การเล่น เพราะคิดว่าเด็กสามารถเรียนรู้ได้ดีผ่านการเล่นและการค้นพบด้วยตนเอง ครูจึงไม่เพียงแต่อนุญาตให้เล่นได้แต่ยัง สนับสนุนให้เด็กๆ เล่นด้วย จึงไม่แปลกที่แม้จะอยู่ระดับมัธยมศึกษาแล้ว ยังจะเห็นเด็กโตนั่งเล่นวิดีโอเกมส์ที่ student center

2. การสอบไม่ได้เป็นไปแบบเอาเป็นเอาตาย โรงเรียนที่นั่นเชื่อว่า หากต้องเตรียมตัวอ่านหนังสือจนไม่มีเวลา จะทำให้ไม่เวลาคิดอย่างอิสระ แต่จะมีการประเมินความรับผิดชอบของเด็กตลอดการเรียนการสอนแทน

3. ความเชื่อใจ เป็นสิ่งที่ Faridi เห็นว่าแตกต่างที่สุดจากประเทศอื่น ๆ เพราะรัฐบาลของฟินแลนด์เชื่อมั่นในเขตการปกครองย่อย ๆ ของตนเอง และหน่วยปกครองย่อยก็เชื่อมั่นในโรงเรียน รวมไปถึงครู ครูก็ไว้ใจนักเรียนตัวเอง ผู้ปกครองจะก็เชื่อมั่นในครูมาก เทียบเท่ากับอาชีพแพทย์เลย

4. แต่ละโรงเรียนไม่แข่งกันเอง ไม่มีการจัดลำดับโรงเรียน เพราะเชื่อว่าทุกโรงเรียนนั้นดีเท่ากัน

5. การคัดเลือกก่อนที่จะเป็นครูนั้นเข้มงวด เหตุผลหนึ่งที่ครูได้รับความไว้วางใจมากเพราะการคัดเลือกนั้นเข้มงวดมาก ต้องเป็นระดับหัวกะทิเท่านั้นถึงจะได้เป็นครู และไม่ใช่ว่าแค่ได้คะแนนทดสอบสูงเท่านั้น ต้องผ่านการสัมภาษณ์ด้านศีลธรรม รวมถึงถามเรื่องแรงบัลดาลใจในการเป็นครูด้วยและจะต้องจบปริญญาโทเท่านั้น

6. เวลาส่วนตัวของเด็กนั้นสำคัญ เพราะทุก ๆ 45 นาที เด็กจะมีสิทธิพักส่วนตัว 15 นาทีตามกฎหมาย เพราะเชื่อว่าการเรียนรู้นั้นจะสำเร็จได้หากผู้เรียนได้รับการผ่อนคลายเป็น ช่วงเวลา

7. เด็กไม่ต้องเข้าโรงเรียนจนถึงอายุ 7 ขวบ และระยะเวลาเรียนระหว่างวันยังสั้นอีกด้วย เช่น เรียนประมาณ 4-5 ชั่วโมงต่อวัน ในระดับประถมศึกษา

8. เน้นที่คุณภาพชีวิต ระบบการศึกษาฟินแลนด์เชื่อว่า ครูที่มีความสุขคือครูที่ดี และครูที่ทำงานหนักเกินไปจะไม่ใช่ครูของพวกเขา ซึ่งจะมีชั่วโมงสอนประมาณ 20 ชั่วโมงต่อสัปดาห์

9. เรียนสายไหนก็ได้รับการยอมรับ เมื่อหลังจากอายุ 16 ปีเด็กสามารถเลือกได้ว่าจะเรียนสายสามัญหรืออาชีพ แต่ทั้งสองสายได้รับการยอมรับสูงในสังคมฟินแลนด์ และสามารถต่อมหาวิทยาลัยได้

10. ระบบการศึกษามีมาตรฐานเดียวกัน ซึ่งครูจะเป็นผู้สอนตามหลักสูตร โดยแล้วแต่ครูจะสร้างสรรค์ แต่ยังอยู่ภายใต้มาตรฐานเดียวกันทั้งประเทศ

11. จะไม่มีการตัดสินเกรด จนถึง ป.4 เพราะเน้นการเรียนรู้มากกว่า

12. จริยธรรมจะถูกสอนตั้งแต่ยังเล็ก แม้เด็กเล็กจะเรียนจริยธรรมจากห้องเรียนสอนศาสนาอยู่แล้ว แต่ก็จะมีนักเรียนบางส่วนที่ไม่ได้นับถือศาสนา ก็จะต้องเข้าเรียนวิชาจริยธรรม

13. มีสิ่งแวดล้อมที่สนับสนุนความร่วมมือซึ่งกันและกัน โดยแต่ละห้องเรียนนั้นอาจมารวมกันในพื้นที่หนึ่งๆ เพื่อที่จะให้เด็กต่างระดับชั้นได้ร่วมเรียนรู้และแลกเปลี่ยนกันโดยไม่แบ่ง แยก รวมถึงครูยังได้ร่วมกันช่วยเป็นที่ปรึกษาให้เด็กๆเหล่านี้ด้วย

วันพุธที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

หลัก 7 ประการที่โรงเรียนควรทำให้เป็นกิจวัตรประจำวัน


หลัก 7 ประการที่โรงเรียนควรทำให้เป็นกิจวัตรประจำวัน
“Doing.!”.. The 7 principles of school Routine
บทความนี้ได้ “ดัดแปลง”เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพปัญหา และ การแก้ปัญหา ของสถานศึกษาในประเทศไทย ตามความเป็นจริง Real World ซึ่งสามารถ “สืบค้น”เพื่อหาข้อมูลเพิ่มเติมจากคำภาษาอังกฤษที่ให้ไว้

1.Every morning ceremonial flag pole คือ การเข้าแถวร้องเพลงชาติหน้าเสาธง การสวดมนต์ แผ่เมตตา และฟังการอบรมบ่มเพาะความดีงาม 5 นาทีทุกวันทำการ ใช้คำพูดเชิงบวก หรือ Positive remarks,เสริมกำลังใจ encouragement,ให้ความหวัง หรือ Give Hope ในการปฏิบัติตนเป็นคนดี ต่อตนเอง ครอบครัว และสังคม ถ้าไม่มีสนามหน้าเสาธงให้ใช้หน้าห้องเรียน..Home Room แทนกันไม่ได้ เพราะ Home Room มีไว้เพื่อชี้แนะหรือนัดหมายเป็นรายห้อง..และการอบรมในห้องประชุมสุดสัปดาห์ ก็เป็นการอบรมกรณีพิเศษ เช่น การเชิญวิทยากรจากภายนอก เป็นต้น..

2.Strengthen Self-discipline ฝึกฝนระเบียบวินัยประจำตน ด้วยคุณค่าของวิชา ลูกเสือ เนตรนารี ยุวกาชาด ทำความเข้าใจเข้าใจแก่นแท้และวัตถุประสงค์ที่แท้จริง...ออกแบบ Designวิธีอบรมคุณธรรมให้ไปถึงเป้าหมายหลักของวิชาเหล่านี้..เน้นจิตวิทยา วัยรุ่น..ออกแบบการเรียนการสอนที่เหมาะสม หรือ Design appropriate learning.
***การเรียนรู้คือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การอบรมสั่งสอนและการปฏิบัติด้านจิตใจ “ตามแบบพุทธวิธี According to Buddhist practices” และ หลักการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามหลักทฤษฏีพฤติกรรมศาสตร์ ของ B.F.Skinner เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพยิ่ง..และ มนุษย์เป็นสัตว์สังคมที่ต้องสอนให้เกิดการเรียนรู้เพื่อชีวิต Learn for Life และสามารถสอนได้เสมอ หากคุณครูสามารถเลือกหาวิธีสอนที่เหมาะสมกับ “คุณลักษณะเฉพาะ Characteristic” ของผู้เรียน”***

3.เรียนรู้เรื่อง อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก Convention on the Rights of the Child เรียนรู้สิทธิมนุษยชนและศาสนา Human Rights and Religion สอนหน้าที่พลเมือง และ วิชาศีลธรรม ในฐานะวิชาหลัก
***ครูต้องสอน และทำความเข้าใจในเรื่องเหล่านี้ให้ถ่องแท้ เพื่อ “สร้างกิจกรรมการเรียนรู้”ที่มีประสิทธิภาพ สร้างความเข้าใจ เรื่อง “สิทธิ และ หน้าที่พื้นฐานของความเป็นมนุษย์” สร้างเข้าใจสังคมประชาธิปไตย ที่ยอมรับนับถือความเป็นมนุษย์ที่มีศักยภาพของผู้อื่น รู้จักเลือกใช้ และรับเอา “คุณค่า” เพื่อสร้างสรรค์ความเจริญแห่งตน สังคม ประเทศชาติ และโลก อย่างมีวิจารณญาณ ด้วยความจริงใจ ***

4.Learner Centered มุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ยึดปรัชญาการเรียนรู้ของศตวรรษที่ 21.ซึ่งจุดหมายปลายทางแห่งการเรียนรู้คือ “คิดเป็น ทำเป็น และแก้ปัญหาได้” ในโลกแห่งความเป็นจริง Real World Environment.
***การเรียนการสอน จะประสบความสำเร็จ สร้างคุณสมบัติให้ผู้เรียน มีปัญญาเป็นของตนเองได้ ก็ต้องให้ผู้เรียน “ลงมือเรียนรู้จากภารกิจที่เขาทำด้วยตนเอง คือ Learning by Doing”..การเรียนรู้ด้วยวิธีนี้ คุณครูจึงต้องออกแบบสร้างกิจกรรมสำหรับการเรียนรู้ Teachers need to create activities designed for learning.ตามเนื้อหาของสาระการเรียนรู้เรื่องต่างๆ อันเหมาะสมกับ “วัย และวุฒิภาวะ” ของผู้เรียน..นี้คือภาระแท้จริงของครูแห่งศตวรรษที่ 21.***

5.Learning and Teaching Design ออกแบบการเรียนและออกแบบการสอนทุกครั้ง..และคิดค้นวิธีสอนรายวิชา ให้สอดคล้องกับสภาวการณ์ปัจจุบัน..ยึดหลักการเรียนรู้และสร้างความรู้ในตน “ด้วยตนเอง Self-learning”ตามหลักการ Constructivist Approach Theory เป็นหลักในการเรียนการสอน..และอ้างอิง กรวยประสบการณ์ หรือ Dale’s Cone of Experience ของ ดร.Edgar Dale แห่งมหาวิทยาลัย Ohio State University USA.
***ออกแบบการเรียนการสอนด้วยหลักการของ Backward Design และมีการเรียนการสอนด้วยกิจกรรมสำหรับการเรียนรู้ Activity for Learning ผู้เรียนปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยการลงมือทำ Activity Mission ด้วยตนเอง เรียกว่า Learning by doing นั่นเอง***

6.Solidarity and Unity ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันและมีเอกภาพ หมายความว่า คุณครู และผู้บริหารหลอมรวมใจเป็นหนึ่งเดียว..แต่ละฝ่ายเรียนรู้ “ซึ่งกันและกัน Each Other” เพื่อแสดงบทบาทที่ถูกต้องของตนเอง ในการกำหนดทิศทาง และ จุดหมายปลายทางการเรียนรู้ร่วมกัน
***ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน Solidarity and Unity นี่แหละ..คือกุญแจไขความสำเร็จขององค์กร..เราจึงเรียกร้องให้สถาบันการศึกษา โรงเรียน และสถานศึกษา “เอาความเป็นพี่น้องกลับคืนมาสู่สถาบัน เพื่อสร้างสร้างความสัมพันธ์อันดีในการทำงาน..สร้างระบบการบริหารและการ เรียนรู้ที่เป็นสากล ในรูปแบบ Cooperative and Collaborative Management และผู้บริหารเป็นผู้อำนวยความสะดวกให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพมากยิ่ง ขึ้น School director serves to facilitate the teaching and learning more effective.และคุณครูอำนวยความสะดวกให้นักเรียนสร้างปัญญาของตนเอง Teachers facilitate students to create their own wisdom. อันเป็นหลักการบริหารการเรียนการสอนแห่งศตวรรษที่ 21.***

7.Freedom to teach มีอิสระในการสอน และเลือกวิธีสอน “เพื่อให้ผู้เรียนสามารถสร้างปัญญาของตนเอง” ให้มีคุณภาพตรงตามปรัชญาการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21.นั่นคือ คิดเป็น ทำเป็น และแก้ปัญหาเป็น เมื่อมีปัญหาเข้ามาในชีวิตและการงาน
ท่านที่เคารพ แม้งานครูจะแสนเหนื่อยยาก ในการสอนคนเพื่อให้ “ศิษย์ของเรา” มีศักยภาพ เพียงพอที่จะ “เกิดปัญญาในการดำเนินชีวิตที่มีคุณค่า Learn for Life”..ดังนั้น คนเป็นครูด้วยจิตวิญญาณ “ย่อมไม่ท้อ เมื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า “มนุษย์ทุกคนสามารถสอนให้เปลี่ยนพฤติกรรมได้เสมอ Every man can be taught to change their behavior.”

ขอยืนยันอีกว่า...การเรียนรู้คือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม..วิธีการอบรมสั่ง สอนและการปฏิบัติด้านจิตใจ “ตามแบบพุทธวิธี According to Buddhist practices” และ หลักการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามหลักทฤษฏีพฤติกรรมศาสตร์ ของ B.F.Skinner เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพยิ่ง..และ มนุษย์เป็นสัตว์สังคมที่ “ต้องถูกสอน Must be taught”ให้เกิดการเรียนรู้เพื่อชีวิต Learn for Life และสามารถสอนได้เสมอ หากคุณครูเลือกหาวิธีสอนที่เหมาะสมกับ “คุณลักษณะเฉพาะ Characteristic” ของพวกเขา
อย่าลืมนะครับ "รีบปรับวิธีเรียน เปลี่ยนวิธีสอน ในวันนี้ เพื่ออยาคตที่ดีของชาติบ้านเมืองเรา" เวลาอาจมีไม่พอที่จะตามทันชาติอื่นเขาใน AEC นี้แล้ว....

สุทัศน์ เอกา......บอกความ

วันพฤหัสบดีที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

16 สัญญาณ(อันตราย) ที่บ่งบอกว่าคุณเป็นคนดีเกินไป และกำลังทำร้ายตัวเองอยู่โดยไม่รู้ตัว


16 สัญญาณ(อันตราย) ที่บ่งบอกว่าคุณเป็นคนดีเกินไป และกำลังทำร้ายตัวเองอยู่โดยไม่รู้ตัว

*1.คุณยอมให้คนอื่นแซงคิวเฉย ๆ : *ไม่มีเหตุผลให้คนอื่นแทรกทั้งที่ของของเขาเยอะกว่าคุณ

*2.ไม่มีอะไร “บกพร่อง” ในสายตาคุณเลย : *คุณจะคืนเงินที่แม่ค้าทอนมาเกินให้ แต่จะกล้ารบกวนพนักงานธนาคารให้จัดการเรื่องเงินในบัญชีหายไปแค่หนเดียวเท่า นั้น เพราะกลัวว่าจะรบกวนเกินไป หรือไม่กล้าปฏิเสธเวลาพนักงานแมคถามว่าคุณจะรับฟรายใหญ่ขึ้นไหม

*3.คุณขอโทษเร็ว “มาก” : *คุณรับผิดชอบทุกอย่าง แม้แต่ความหยาบคายและความผิดของคนอื่น

*4.คุณ “บริจาค” ทุกงาน : *ถ้ามีงานการกุศลอะไร คุณจะเป็นคนแรกของลิสต์ขอบริจาคและยังช่วยงานทุกคนไปทั่วด้วย

*5.คุณอ่อนไหวกับ “ความรู้สึกคนอื่น” มากเกินไป : *คนเรียกชื่อคุณผิดหรือเสิร์ฟอาหารผิดเมนู คุณจะไม่แก้ไขหรือขอเปลี่ยนจาน เพราะกลัวว่าจะทำร้ายความรู้สึกพวกเขา

*6.คุณ/โคตร /สุภาพ เป็นประเภทลุกให้ที่คนนั่งบนรถโดยสาร ทั้งที่ไม่มีที่จะยืนบนรถอีกแล้ว จับประตูให้คนอื่นหรือขอบคุณ และครับ/ค่ะ ทุกครั้ง

*7.ภาพลักษณะของคุณคือ “ไอ้อ่อน” : *เป็นบุคคลที่ใครจะวาน จะขอหรือจะทำอย่างไรก็ได้และรู้ว่าคุณไม่ตอบโต้หรือปฏิเสธแน่

*8.คุณสนแต่ว่าคนอื่นจะมีความสุขหรือไม่ : *เป็นคนที่จะซุกตัวล้างจานอยู่ในครัวทั้งที่เป็นปาร์ตี้ของตัวเอง หรือไม่ก็วิ่งวุ่นยกน้ำให้แขกทั้งที่เป็นเจ้างาน

*9.คุณปิดบัง “ความยินดี” ไม่อยู่ : *คุณจะชม ยกนิ้ว กล่าวคำดี ๆ เวลาใครทำอะไรได้ดี เหมือนมีรังสี “ยินดีด้วยนะ” ออกมาจากตัวคุณตลอดเวลา

*10.ถูกหลอกหลอนด้วย “อารมณ์เสียของคนอื่น” : *แม้คุณจะทำดีแค่ไหน แต่ถ้าอีกฝ่ายเป็นคนเจ้าอารมณ์และไม่ยิ้มแย้ม คุณอาจจะตื่นขึ้นมากลางดึกและคิดว่าเป็นความผิดของตัวเองและรู้สึกแย่ชนิด ข้ามวัน

*11ให้ทิปหนักมาก : *หรือให้ทิปเหมือนกฎหมายบังคับอย่างนั้น อย่าลืมว่าพนักงานเสิร์ฟเพียงแต่บริการคุณ ไม่ได้เป็นลูกจ้างคนที่ต้องไปให้เงินเดือนเสริมเขาอีกที

*12.ชื่อกลางของคุณคือ “รอบคอบ” : *ทุกเทศกาลจะส่งการ์ดให้ทุกคนไม่ตกหล่น และอาจเปลี่ยนทิชชูห้องน้ำใหม่ให้ห้องที่เพิ่งย้ายออกอีกด้วย

*13.คุณปกปิดทุกอย่างให้ใครสักคนเสมอ : *ตัวรักษาความลับชั้นดี แถมยังไม่ชักใบให้เรือเสียทั้งที่ควรจะชักตั้งนานแล้ว เช่น รู้ว่าบริษัทไม่ได้ขาดทุนแต่ไม่กล้าถามเรื่องโบนัส ทั้งที่บอสคุณสัญญาไว้ตั้งแต่ปีที่ก่อน

*14.คุณหลงกลพวก “แตหลอ” ง่ายมาก : *เห็นความดีคนง่ายแต่ไม่เห็นความเลวของพวกเขาเท่าไร ใครบีบน้ำตาหน่อย คุณก็เชื่อทันที

*15.ไม่ค่อยขอความช่วยเหลือ : *เพราะคิดว่าจะเป็นภาระให้คนอื่น แม้คนอื่นจะยินดีถมมันลงคุณก็ตาม

*16.คุณเป็นผู้ฟังที่ดี : *คุณสามารถฟังเพื่อนที่มีเวลาเล่าทุกอย่างในขณะที่ไม่เคยฟังอะไรคุณเลยหรือ แม้แต่คนสติไม่ดีที่บอกว่าฟ้าจะถล่มก็ยังยืนฟัง ทั้งหมดนี้เพราะไม่อยากทำร้ายความรู้สึกคนพูดนั่นเอง

(ขอบคุณข้อมูลจาก : yourtango)

วันพุธที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

8 นิสัยการทำงานที่คุณควรจะมี


คนที่ประสบความสำเร็จกับคนที่ไม่ประสบความสำเร็จ

คนที่ประสบความสำเร็จกับคนที่ไม่ประสบความสำเร็จ

7 อุปนิสัย ของผู้ประสบความสำเร็จ


7 Habits of highly effective

1. ต้องเป็นฝ่ายเริ่มต้นก่อน (Be Proactive)
เวลาที่เราต้องการอะไรหรือต้องการจะเริ่มอะไรสักอย่างจะต้องมีตัวกระตุ้น และตัวกระตุ้นจะทำให้เกิดการตอบสนองดังนั้นหากเราเป็นผู้เริ่มต้นก่อนหรือ เป้นตัวกระตุ้นการตอบสนองจะตามมา

2. เริ่มต้นจุดหุ่งหมายในใจ(Begin with the End in Mind)
การที่เราจะเริ่มต้น ก่อนอื่นมันมักจะมาจากสิ่งที่เราคิดในใจ หลักของ “เริ่มต้นด้วยจุดหมายในใจ” นั่นคือการทำสองครั้ง ครั้งแรกเกิดขึ้นในจิตใจ และครั้งที่สอง คือการทำให้สิ่งที่เราคิดเป็นจริง แต่การที่เราจะทุ่มแค่แรงใจอย่างเดียวก็ไม่สามารถเกิดประสิทธิผลได้มันอยู่ กับว่าเราเทความหมายไปในสิ่งที่ถูกต้องหรือไม่ และต้องมีศูนย์รวมในตนเอง และเป็นการที่เราดำเนินชีวิตและตัดสินใจได้จากฐานความชัดเจนในเป้าหมายชีวิต ของเรา สามารถปฏิเสธอย่างไมรู้สึกผิดหากสิ่งนั้นไม่ตรงเป้าประสงค์หลักของเรา

3. ทำตามลำดับความสำคัญ (Put First Things First)
นิสัยที่ 3 เป็นเหมือนภาคปฏิบัติของ นิสัยที่ 1 และ 2 ซึ่งทั้ง การจัดการบริหารเวลา, รู้จักปฏิเสธ, ตารางเวลา เพื่อให้เราทำสิ่งที่สำคัญมากที่สุดก่อน วิธีง่ายๆ ที่จะลองทำคือ เขียนรายชื่อสิ่งที่เราอยากทำ และเราควรทำ ทำสัญญาลักษณ์แบ่งมันออกเป็น 3 ระดับคือ
สำคัญมากเร่งด่วน
สำคัญมากแต่ไม่เร่งด่วน
ไม่สำคัญมากแต่เร่งด่วน
และทำตามลำดับ

4. คิดแบบ ชนะ/ชนะ (Think Win-Win)
จริงๆ แล้วมนุษย์มีกรอบความคิด 6 แบบที่กระทำต่อกัน หนึ่งในนั้นคือการคิดแบบชนะ/ชนะ คือไม่มีผู้แพ้ เป็นข้อตกลงหรือการแก้ไขปัญหาต่างๆ เป็นไปเพื่อให้ทุกฝ่ายได้รับประโยชน์ทั้งสองฝ่าย แต่อย่างไรเสีย ก็ขึ้นอยู่กับสถานการณ์แต่ละสถานการณ์ว่าควรใช้แบบอื่นหรือไม่ หากไม่สามารถหาข้อตกลงแบบ คุณก็ชนะ ฉันก็ชนะได้ ก็ตกลงว่า “จะไม่ตกลง” ณ ขณะนี้เพื่อลดสถานการณ์ที่มีผู้หนึ่งผู้ใดต้องแพ้ จุดตั้งต้นคือต้องเห็นคุณค่าในตัวเอง และเห็นความ Proactive ที่มีค่าของผู้อื่น (I’m Ok, You’re Ok.)

5. เข้าใจคนอื่นก่อนจะให้คนอื่นเข้าใจเรา (Seek First to Understand, Then to be Understood.)
ก่อนบอกความต้องการหรือสิ่งที่เราคิดแล้วอยากให้ผู้อื่นยอมรับ เราต้องให้ความสำคัญและเข้าใจมุมมองของผู้อื่นต่อเรื่องนั้นๆ อย่างลึกซึ้งก่อน และลดการปะทะกัน

6. ประสานพลังงานสร้างสิ่งใหม่ (Synergize)
เกิดจากการยอมรับในคุณค่าของตนเอง และเข้าใจในความแตกต่างที่ผู้อื่นมีมุมมอง ลดการวิพากษ์วิจารณ์อย่างไม่สร้างสรรค์ ซึ่งปิดกั้นความคิดดีๆ ของกลุ่มคนที่อยู่ด้วยกัน มีเพียงความพยามในการเข้าใจในสิ่งที่ตอนแรกเหมือนจะไม่เห็นด้วยเท่านั้น

7. ลับเลื่อยให้คมอยู่เสมอ (Sharpen the saw)
ที่กล่าวมาทั้งหมดตั้งแต่ข้อ 1 – 6 จำนำไปใช้ในชีวิตจริงให้ได้ประสิทธิผลเราต้องมั่นฝึกฝนอุปนิสัยต่างๆ เหล่านั้นอย่างสม่ำเสมอ
“หมั่นลับคมเลื่อยไว้ ยามเมื่อถึงเวลา..จะได้พร้อมใช้”

Credit By  : Stephen Covey
http://ecepost.com/viewtopic.php?id=702012001

วันอังคารที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

10 ลักษณะของคนที่มีภาวะการเป็นผู้นำ

ไม่ว่าใครก็อยากเป็นใหญ่เป็นโต ตาสีตาสาก็อยากมีอำนาจอยู่ในมือ ทว่าอำนาจและความเป็นใหญ่นั้นไม่ได้ได้มาจากการถูกล็อตเตอร์รี่รางวัลที่หนึ่ง หรือมาจากการจับฉลากรางวัลประจำปี แต่สิ่งเหล่านี้ล้วนมาจากความตั้งใจ การแสดงศักยภาพของตัวคุณเอง และการปรับเปลี่ยนระบบความคิด หรือ mindset ของตัวเรา แค่ปรับเพียงเล็กน้อยโอกาสที่ยิ่งใหญ่อาจจะกองรออยู่ตรงหน้า

แล้วจะทำอย่างไรถึงจะก้าวเข้าไปเป็นผู้นำที่ดีได้ วันนี้ UNLOCKMEN นำลักษณะของคนที่มีภาวะการเป็นผู้นำมาฝากอ่านแล้วลองกลับมามองตัวเองว่าคุณมีสักกี่ข้อที่เข้าข่ายคนที่จะก้าวเข้าไปสู่การเป็นผู้นำแถวหน้าได้บ้าง หรือถ้าหากไม่มี คุณจะได้เตรียมตัว และปรับเปลี่ยนความคิดบางอย่างเพื่อผลดีต่อตัวคุณเอง
PD*44827318

1. คุณจะใช้เหตุผลมากกว่าอารมณ์เสมอ
ไม่ว่าจะเป็นผู้นำ หรือผู้ตาม หากคุณปล่อยให้อารมณ์อยู่เหนือเหตุผล ใครจะอยากร่วมงานกับคุณจริงไหมคะ ต่อให้คุณเป็นแม่ค้า เป็นลูกจ้าง การก้าวหน้าในอาชีพของตน ล้วนต้องอาศัย logic ที่พึงมีทั้งสิ้น คุณจำเป็นต้องมีหลักการ มีเหตุผล เพื่อนำมาลบล้างกับความรู้สึกโกรธ หรืออารมณ์เหวี่ยงที่ตนมี แน่นอนว่าสิ่งเหล่านี้มาจากประสบการณ์และการหาความรู้เพิ่มเติมค่ะ ถ้าคุณสามารถนำเหตุผลมาอยู่เหนืออารมณ์ได้แล้ว ไม่ว่าจะทำงานในสายอาชีพอะไร ก็สามารถก้าวหน้าได้ไม่ยาก

2. คุณมักเริ่มต้นจากคำว่า “ทำไม”
ทำไมนกถึงโบยบินบนท้องฟ้าได้ แล้วมนุษย์สามารถขึ้นไปอยู่บนท้องฟ้าได้หรือเปล่า ทำไมถึงมีแต่โลกเท่านั้นที่มีมนุษย์อาศัยอยู่ ดาวดวงอื่นๆ เราสามารถไปอยู่อาศัยได้หรือเปล่า คำถามเหล่านี้ ล้วนตั้งขึ้นเพื่อหาคำตอบทั้งสิ้นค่ะ การเริ่มต้นทำสิ่งต่างๆ ด้วยคำว่าทำไม และสิ่งต่างๆ ที่ถูกตั้งคำถามเหล่านี้ก็กลายเป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่เสมอ ไซม่อน ซิกเนก นักเขียน Best Seller จากหนังสือ Start With Why ได้อธิบายไว้ว่า ผู้คนไม่ได้สนใจว่าคุณทำอะไร แต่พวกเขาสนใจว่าคุณทำทำไมมากกว่า ดังนั้นผู้นำที่ดีก็คือคนที่ตั้งคำถาม และอยากจะหาคำตอบให้กับตัวเอง สำคัญคือมันสามารถนำไปปรับใช้ได้กับทุกสิ่งที่คุณเผชิญ อย่างทำไมเขาถึงไม่รักเรานะ อืม อาจเพราะเราดีไม่พอ ไม่ต้องไปถามเพื่อให้เขาตอบ แต่คุณควรถามเพื่อให้ตัวเองตอบคำถามนี้ให้ได้ แล้วคุณจะไม่กลายเป็นคนที่ฟุ้งซ่านแน่นอน

25044533

3. คิดนอกกรอบเสมอ
คำว่าคิดนอกกรอบ ไม่ได้แปลว่าคุณต้องฉีกกฎทุกอย่างทั้งที่ไม่รู้ว่ากรอบเหล่านั้นมีอะไรบ้าง บางคนมักจะนำคำนี้ไปใช้โดยที่ตัวเขายังไม่เข้าใจเลยว่า การอยู่ในกรอบนั้นเป็นอย่างไร แล้วมีปัจจัยอะไรบ้างที่ทำให้เรายังอยู่ในกรอบแห่งนี้ เมื่อเข้าใจกรอบนี้ดีแล้ว คุณจะสามารถก้าวออกไปนอกกรอบได้อย่างสง่างาม และสามารถสร้างสรรค์สิ่งที่แตกต่างจากคนอื่นได้ ก่อนจะออกนอกกรอบ ต้องเข้าใจกรอบนี้ให้ดีก่อนเป็นดี เพราะผู้นำระดับโลกหลายคน เขาก็เริ่มต้นจากการอยู่ในกรอบ แล้วค่อยก้าวออกไปจากกรอบนี้นั่นเอง

4. คุณเป็นผู้ตามที่ดีเยี่ยม
อ่านถึงข้อนี้อาจจะงงๆ ว่า ภาวะการเป็นผู้นำสูง เกี่ยวข้องอะไรกับการเป็นผู้ตาม โรเบิร์ต เคลลี่ ผู้เขียน The Power of Followership ได้บอกไว้ว่า ผู้ตามที่ดีจะมีความคิดที่ตรงข้ามกับเรา เพราะผู้ตามที่ดีเขาไม่ใช่คนที่จะ Say “Yes” ให้กับทุกอย่าง แต่จะเป็นคนที่กระฉับกระเฉง และมีไอเดียใหม่ๆ ให้กับผู้นำเสมอ และผู้ตามที่ดีจะสามารถพรีเซ้นต์ทุกอย่างได้แม้ขาดผู้นำไป ลองเริ่มต้นเป็นผู้ตามที่ดีก่อนค่ะ อย่าคิดว่าต้องทำงานไปวันๆ รอรับเงินเดือน แต่ให้ทำอย่างเต็มที่ แสดงศักยภาพที่คุณมีออกมาค่ะ เอ้า! ลุยดิ

Reservoir-Dogs

5. ฟังมากกว่าพูด
คนที่รู้มาก ก็เกิดจากการฟังที่มากกว่าคนอื่น ผู้นำในโลกธุรกิจส่วนใหญ่ต่างมีลักษณะพื้นฐานคือการเป็นผู้ฟังที่ดีทั้งสิ้น การฟังเป็นการเก็บเกี่ยวความรู้ต่างๆ มาสั่งสมพอกพูน และใช้ logic ของตนในการตัดสินวิเคราะห์ให้กลายเป็นข้อมูลสำคัญในการพัฒนาองค์ความรู้ที่ตนมี หากคุณฟังคู่แข่งมาก คุณก็จะรู้ได้ไม่ยากเลย ว่าเขามีจุดด้อย จุดเด่นอะไรบ้าง และนี่คือสิ่งสำคัญที่คุณจะนำมาปรับปรุงผลงานของตนให้ก้าวหน้า

6. คุณสามารถสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ยุคนี้ใครๆ ก็เล่น Social Media จริงไหม ไม่ว่าจะเป็น facebook twitter หรือ instagram เราต่างเห็นจุดบอดของมันคือ การที่ผู้รับสารตีความผิดพลาด และสาเหตุหลักๆ ก็คือการส่งสารที่ผิดพลาดของผู้เขียนเอง คนที่จะเป็นผู้นำได้ดี คือคนที่สามารถอุดจุดบอดนี้ได้ เพราะผู้นำจำเป็นจะต้องสื่อสารกับคนหมู่มาก ถ้าการสื่อสารของคุณผิดพลาด คนที่รับคำสั่งจากคุณไป ก็คงไม่สามารถทำงานตอบโจทย์คุณได้ ปีเตอร์ อีโคโนมี่ ผู้เขียน Managing for Dummies ได้พูดถึงหลักการหนึ่งของการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพไว้ว่าให้คำนึงถึง 7 C ได้แก่ Clear (ชัดเจน), Consistent(สอดคล้อง), Credible (น่าเชื่อถือ) , Confident (มั่นใจ) , Civil (สุภาพ) , Concise (กระชับ) และ Compassionate (มีความเห็นอกเห็นใจ) ถ้าคุณสามารถพูด สื่อสาร ด้วยการคำนึงถึง 7C นี้ได้ การก้าวขึ้นเป็นผู้นำอย่างมีประสิทธิภาพ และมีคนนับหน้าถือตาย่อมเป็นเรื่องง่าย

filmes-3325-fotos-americangangster_07

7. คุณไม่เคยลืมที่จะพัฒนาคนที่อยู่ข้างหลัง
เคยสังเกตไหมว่าเจ้าพ่อในหนังมาเฟีย เขาสามารถคุมลูกน้องให้อยู่ในกำมือได้อย่างไร เหตุผลง่ายๆ ก็เพราะเขาไม่ลืมที่จะพาลูกน้องก้าวขึ้นไปสู่ระดับแถวหน้าพร้อมๆ กัน การที่คุณทำงานและคำนึงถึงทุกคนที่อยู่ในทีม นอกจากผลงานจะก้าวหน้าแล้ว ทุกคนยังเติบโต และสามารถพัฒนาธุรกิจและองค์กรให้ก้าวไปได้ ผู้นำที่ดี จะไม่ทิ้งคนที่อยู่ข้างหลัง เพราะต่อให้คุณมีอำนาจ มีเงินทอง และมีความสามารถ คุณก็ต้องอาศัยศักยภาพ และบริหารคนให้เป็นอยู่ดี

8. คุณชอบที่จะเรียนรู้ทุกสิ่งอย่าง
ไม่ว่าคุณจะอยู่ในฐานะไหนในองค์กร การเรียนรู้ไม่มีที่สิ้นสุดค่ะ ใครสอนอะไรพร้อมที่จะเปิดใจรับ และเรียนรู้มันเสมอ การอ่านหนังสือก็เป็นสิ่งจำเป็น เราสามารถเรียนรู้ข้อผิดพลาด และความสำเร็จของคนอื่นได้จากการอ่าน และการฟังประสบการณ์ที่เขาเหล่านั้นนำมาแบ่งปันค่ะ เห็นไหมคะว่าแต่ละข้อจะเชื่อมโยงกันไปมา

ffc39ebe6c87b384c277ca8ce3a63ba4

9. โฟกัสไปที่การแก้ปัญหา มากกว่าการจมอยู่กับปัญหา
การจะก้าวข้ามผ่านไปสู่สิ่งที่ยิ่งใหญ่ได้นั้น ไม่ใช่การนอนจมกับกองของปัญหาต่างๆ แต่คือการลุกขึ้นมาเผชิญหน้ากับปัญหา และแก้ไขมันให้ถึงที่สุด ปลดล็อคปัญหาไปทีละข้อ ไม่ยอมแพ้ และโยนทิ้งมันกลางทาง วันนี้คุณยอมแพ้ ครั้งหน้าคุณก็จะติดนิสัยยอมแพ้มันเรื่อยๆ แล้วเมื่อไหร่เราจะชนะล่ะ จริงไหม

10. คุณไม่กลัวที่จะทำการใหญ่ และไม่กลัวที่จะเป็นฝ่ายตัดสินใจในเรื่องใหญ่ๆ
สำคัญที่สุดคือการตัดสินใจ ผู้นำคือคนที่ต้องทำการใหญ่ มองขาด และตัดสินได้ว่า สิ่งเหล่านั้นควรเป็นไปในทิศทางไหน รวมถึงเป็นคนที่จะรับผิดชอบในการตัดสินใจของตน คุณต้องขจัดความกลัวที่คุณมีให้สิ้น ถ้าคุณอยากก้าวหน้า และเป็นผู้นำได้ ข้อนี้รวมไปถึงเด็กรุ่นใหม่ที่อยากเป็นนายตัวเอง หรืออยากมีกิจการด้วย จำเป็นต้องอาศัยภาวะการเป็นผู้นำทั้งสิ้น
เป็นอย่างไรบ้าง พอจะมีสักข้อไหมคะที่ตรงกับคุณ อาจจะมีสักข้อ หรือสองข้อ แต่นั่นถือเป็นสัญญาณที่ดี หนึ่งข้อก็สามารถนำมาซึ่งสองข้อได้ไม่ยาก แค่ปรับระบบความคิดบางอย่าง เปิดใจ และกล้าที่จะเปลี่ยนจากสิ่งที่ตนเป็น ไปสู่สิ่งที่ดีกว่า การพัฒนาศักยภาพของตัวเองไม่มีวันหมด แต่ไฟที่คุณมีอาจจะหมดได้ทุกเมื่อ เพราะฉะนั้นเริ่มเปลี่ยนแปลงตัวเองซะตั้งแต่วันนี้ดีไหม


ภาพ cover : หนังเรื่อง Nameless Gangster: Rules of the Time
http://www.unlockmen.com/10-signs-you-will-become-great-leader/

มุมมองเพื่อพัฒนาการบริหารการศึกษาไทย ตอนที่ 1 รองศาสตราจารย์ ดร.เอกชัย กี่สุขพันธ์ บริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

วันจันทร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

การบริหารการศึกษาไทยในศตวรรษที่ 21 โดย ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช

แนวทางการกำหนดสัดส่วนความรับผิดชอบทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ หนังสือด่วนที่สุด ที่ กค 0406.2/ว66 ลงวันที่ 25 กันยายน 2550