แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ผู้นำ แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ผู้นำ แสดงบทความทั้งหมด

วันพฤหัสบดีที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

เป็นหัวหน้าได้ไง ไม่รู้อะไรซักอย่าง


"ถามอะไรไปก็ตอบไม่ได้ซักอย่าง อะไรเนี่ย ตอนเลือกคนมาเป็นห้วหน้า บริษัทดูแค่อายุงาน หรือว่าเค้าให้จับฉลากวะ"

หลายครั้งเราก็เลือกหัวหน้าไม่ได้นะครับ และหลายครั้งเราก็อาจจะเคยรู้สึกว่า ทำไมหัวหน้าเราไม่เก่งเลยวะ

จริง ๆ ไม่ใช่หลายครั้งที่เราเลือกหัวหน้าไม่ได้ แต่เราเลือกไม่ได้เลยต่างหาก เพราะฉนั้นอย่างแรกที่ต้องทำคือ 
ทำบุญเยอะ ๆ ขอให้ได้หัวหน้าดี ๆ 
อย่างที่สองคือ ทำใจ

เรืองนั้นเอาไว้ก่อน มาว่ากันเรือง หัวหน้าไม่เก่งเท่าลูกน้องดีกว่า
คำถามแรกคือ จริง ๆ เราอยากได้หัวหน้าที่เก่ง หรือ ไม่เก่ง
ถ้าเอาคำถามสั้น ๆ แค่นี้ เดินไปถามคน 100 คน ผมว่ามากกว่า 95 คนจะตอบว่า "ก็ต้องคนเก่งดิพี่ เรืองไรจะไปทำงานกับไม่เก่ง"

ที่นี้ถ้าถามใหม่
A. ทำงานกับคนเก่ง แต่ต้องทำงานตามวิธีการของเค้าทั้งหมด เพราะคนเก่ง ก็ต้องคิดว่าวิธีการของตัวเองดีที่สุดอยู่แล้ว ลูกน้องก็แค่ทำตามที่บอก
B. ทำงานกับคนไม่เก่ง

ถ้าถามแบบนี้ผมเดาคำตอบไม่ได้แน่นอน อาจจะ 50 50 มีเบ้ซ้าย เบ้ขวาแน่นอน
งั้นก็แปลว่าความเก่งไม่ใช่ประเด็นสิ ? อืมน่าคิด

ความเก่งของหัวหน้ายังจำเป็นอยู่ครับ โดยเฉพาะหัวหน้าระดับต้น ๆ เนี่ย ความรู้ทางด้าน Technical ยังมีความจำเป็นอยู่มากในการที่จะเลือกขึ้นมาเป็นหัวหน้า แต่ความรู้ทางด้าน Technical หรือความรู้เฉพาะทางจะลดความสำคัญลงเรือย ๆ แต่ควาามสามารถในการบริหารคน และภาวะผู้นำ จะต้องสูงขึ้นเรือย ๆ แทน

ผู้จัดการจำเป็นต้องรู้มั้ย ว่าจะจองหัองประชุมต้องทำยังไง

อันนี้ยกตัวอย่างแบบสุดโต่งนะครับ คงลูกน้องคนไหนไปถามผู้จัดการหรอกมั้งเนอะ หึหึหึ เอ๊ะ หรือมี
ลูกน้องคนไหนที่เก่งจริง ๆ ถึงจะมีหัวหน้าที่ไม่เก่ง ก็คงไม่กลัวอะไร ดีซะอีกนะ ได้มีวิธีการทำงานเป็นของตัวเอง แล้วก็พูดได้เต็มปากว่าเนี่ย งานผม

หัวหน้าที่มีลูกน้องเก่ง ก็ยิ่งต้องสนับสนุน ไม่ใช่มาขัดแข็งขัดขา กลัวลูกน้องจะเก่งกว่า บริษัทจ้างคุณมาเป็นหัวหน้า ให้บริหารทีมงาน ไม่ใช่ให้มาเก่งแข่งกับลูกน้องนะครับ

ที่สำคัญคือ ต้องรู้จักสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างลูกน้องกับหัวหน้า มีอะไรก็พูดกัน คุยกัน ตกลงกัน
หัวหน้าไม่เก่ง แต่เป็นคนดี และบริหารทีมเป็น ลูกน้องจะเก่งมาจากไหน ก็ให้ความเคารพ และช่วยทำงานได้เต็มที่ เชื่อผมสิ ^^

‪#‎HRTheNextGen‬

วันพุธที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

ประโยคที่ผู้นำที่ดีควรพูด


  เหล่าผู้นำในแต่ละวงการที่ประสบความสำเร็จ พวกเขามีทัศนคติที่ดี อีกทั้งยังสร้างความสัมพันธ์อันดีกับลูกน้องในที่ทำงาน แทนที่จะเป็นคนสั่งการอย่างเดียว โดยทำตัวให้เหมือนเพื่อนร่วมงานระดับเดียวกัน เพื่อสร้างความนับถือ ความเชื่อใจ และความจงรักภักดีต่อนายจ้างมากขึ้น

1. What do you think? ถามหาความคิดเห็น
เจ้านายที่ดีจะรู้ ว่า ลูกน้องของคุณเป็นแหล่งไอเดียใหม่ๆที่เกิดขึ้นได้ไม่ซ้ำกัน เพราะแต่ละคนมีความคิดแตกต่างกัน และเมื่อนายจ้างถามลูกน้องว่ามีความคิดเห็นอะไรบ้าง โดยแสดงความสนใจว่าความคิดเห็นของลูกน้องคุณนั้นมีประโยชน์ต่อการทำงานเป็น อย่างมาก

2. I trust you พูดแสดงออกให้ลูกน้องรู้ว่าคุณเชื่อใจเขา
ลูก น้องทุกคนย่อมต้องการให้นายจ้างของพวกเขาไว้ใจ และเมื่อลูกน้องเห็นว่านายจ้างแสดงออกถึงความเชื่อใจแล้ว พวกเขาก็พร้อมทำงานให้ออกมาดีด้วยความซื่อตรง และไว้ใจนายจ้างกลับด้วย

3. I know you can do it ผมรู้ว่าคุณทำได้
คำพูดให้กำลังใจเสริมสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกน้อง ทำให้ลูกน้องมีความมั่นใจในการทำงาน งานที่ออกมาก็สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี

4. It’s not your Fault ไม่เป็นไร ไม่ใช่ความผิดคุณ
บาง ครั้งเมื่อเกิดปัญหาขึ้นและไม่มีลูกน้องคนไหนสามารถแก้ไขปัญหานี้ได้ อย่ากล่าวโทษ เพราะทุกคนสามารถผิดพลาดกันได้ บอกให้ลูกน้องรู้ว่าสิ่งนี้เราสามารถแก้ไขมันร่วมกันได้

5. I’m proud of you ภูมิใจในตัวพวกคุณ
ทุก คนชอบฟังคนรอบข้าง ไม่ว่าจะพ่อแม่ เจ้านาย หรือคนรอบข้างกล่าวชื่นชม ว่าเขาภูมิใจในตัวพวกเขา โดยเฉพาะคำชมจากเจ้านายว่าภูมิใจในผลงานที่ลูกน้องทำ ช่วยเพิ่มกำลังใจในการทำงาน

6. Please ใช้คำพูดเชิงขอ มากกว่าการออกคำสั่ง
ไม่ ว่าเจ้านายหรือลูกน้อง ทุกคนไม่ชอบถูกสั่งงาน ปรับเปลี่ยนวิธีการพูดใหม่ เลือกคำพูดที่ไม่เหมือนการออกคำสั่ง ใช้ถ้อยคำที่สุภาพเมื่อต้องการให้ลูกน้องทำงานให้

7. Thank you ขอบคุณ
เชื่อหรือไม่ว่า 58% ของการสำรวจลูกน้องในที่ทำงานชอบให้นายจ้างกล่าวแสดงการขอบคุณเมื่อลูกน้องทำงานเสร็จลุล่วง

8. Great idea-let’s do it เป็นความคิดที่ดีมาก ทำต่อไปนะ
เมื่อ นายจ้างได้ความคิดหรือไอเดียดีๆจากลูกน้อง บางครั้งไอเดียหรือความคิดเหล่านี้มีมากจนหยิบมาใช้ไม่หมด พูดให้กำลังใจว่าความคิดที่พวกเขาคิดนั้นดีแล้ว และให้ทำกันต่อไป

9. I’ve always got time for you มีเวลาให้ตลอดเวลา
มี เวลาว่างพบปะกับลูกน้องเท่าที่จะทำได้ เพื่อรับฟังปัญหาและข้อคิดเห็นต่างๆที่พวกเขาอยากพูดหรืออยากบอกกับนายจ้าง เพื่อปรับปรุงแก้ไขให้การทำงานออกมาดียิ่งขึ้น

10. I couldn’t have done it without you สองหัวดีกว่าหัวเดียว
บอก ลูกน้องของคุณว่าพวกเขามีค่ามากแค่ไหนในที่ทำงานแห่งนี้ และงานทุกอย่างนั้นจะไม่สำเร็จและออกมาดีได้เลยถ้าไม่ได้พวกเขาอยู่คอยเป็น กำลังสำคัญ



11. No one is perfect ไม่มีใครสมบูรณ์แบบ
บาง ครั้งการทำงานที่มีข้อผิดพลาด ไม่ควรอย่างยิ่งสำหรับคำพูดซ้ำเติมหรือว่ากล่าว ทางที่ดีนายจ้างควรพูดให้กำลังใจ เพราะทุกอย่างไม่มีอะไรสมบูรณ์แบบที่สุด แต่ให้เอาข้อผิดพลาดนั้นมาเป็นบทเรียน

12. What can I do to help? มีอะไรให้ช่วยได้บ้าง
ลูกน้องทุกคนต้องการให้นายจ้างสนับสนุน และยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือ คอยติดตามความเป็นไปของสิ่งที่เข้าไปช่วยเหลือ

13. I made a mistake ยอมรับเมื่อทำขอผิดพลาด
ไม่ มีลูกน้องคนไหนที่ให้ความเคารพนายจ้างที่ปัดความรับผิดชอบ หรือไม่ยอมรับเมื่อตัวเองทำผิด ซ้ำร้ายยังมีนายจ้างบางประเภทที่ชอบโยนความผิดให้คนอื่นรับช่วงต่อ นายจ้างจำพวกนี้เป็นแบบอย่างที่ไม่ดี และลูกน้องจะเริ่มตีตัวออกห่าง วิธีเรียกความศรัทธาคืนมาที่ไวที่สุดคือยอมรับข้อผิดพลาดของตัวเอง และแก้ไขข้อผิดพลาดนี้ให้ถูกต้อง

14. I need your help อย่าอายที่ต้องขอความช่วยเหลือจากคนที่ด้อยกว่า
เมื่อ ต้องการความช่วยเหลือจากใครซักคน อย่าอายที่ต้องกล่าวขอความช่วยเหลือจากลูกน้องของคุณ เพราะพวกเขาเต็มใจและพร้อมช่วยเหลือคุณอยู่แล้ว

15. Anything is possible ทุกสิ่งเป็นไปได้
ผู้ นำที่ดีนั้นจะรู้ว่าไม่มีข้อจำกัดใดๆที่มาขัดขว้างการทำงานให้สำเร็จได้ คอยเติมเต็มแรงบันดาลใจและข้อมูลที่มีประโยชน์ อีกทั้งยังต้องทำตัวให้เหมือนแก้วที่มีน้ำอยู่แค่ครึ่งเดียว ที่พร้อมรับความรู้ใหม่ๆเข้ามาเติมเต็มได้ตลอดเวลา

16. I’m sorry กล่าวคำขอโทษบ้าง
คำ กล่าวแสดงความเสียใจ หรือขอโทษ เป็นโยคที่ทุกคนต้องการได้ยิน ทั้งยังช่วยรักษาความรู้สึกซึ่งกันและกันได้ดี ถึงแม้จะเป็นเจ้านายหรือนายจ้างก็ตามเมื่อทำผิดก็ควรกล่าวคำขอโทษ

17. I’ve got your back เป็นแนวหลังที่คอยสนับสนุน
ลูกจ้าง ทุกคนย่อมต้องการกองหลังคอยช่วยหนุนและสนับสนุน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับเจ้านายหรือนายจ้างของพวกเขาเอง ใช้อำนาจที่ตัวเองมีในทางที่ดี ทำให้ลูกน้องเชื่อมั่นว่าเขาสามารถไว้ใจเจ้านายของพวกเขาได้ทั้งในเวลาสุข และทุกข์


http://newsupdate.sayhibeauty.com/2016/02/17_20.html?m=1

วันศุกร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

ผู้นำที่ดีควรจะมีเทคนิคในการสื่อสารอย่างไร


เมื่อสองวันก่อน ได้มีโอกาสไปนั่งฟังผู้บริหารระดับสูงของธุรกิจแห่งหนึ่งที่ขึ้นมาแถลง นโยบายของบริษัท และเปิดโอกาสให้พนักงานได้พูดคุยสอบถาม และท่านก็ตอบข้อสงสัย ตอบข้อซักถามพนักงาน พองานจบ ลงจากเวที ก็มีพนักงานอีกกลุ่มหนึ่งที่เดินเข้ามาพูดคุยและสอบถาม ซึ่งท่านเองฟัง พยักหน้า ยิ้ม และตอบคำถามด้วยความใจเย็น ซึ่งภาพรวมที่แสดงออกมานั้น แสดงให้เห็นถึงภาวะผู้นำอย่างเต็มเปี่ยม


ผมนั่งสังเกตดูปฏิกิริยาของพนักงานที่มาร่วมงาน ต่างก็แสดงออกถึงความเชื่อมั่น และความมั่นใจในตัวผู้นำของเขาอย่างมาก ก็เลยมานั่งคิดๆ ดูว่า คนที่เป็นผู้นำที่ดีนั้น จะต้องมีเทคนิคในการสื่อสารที่ดีมากๆ ที่สามารถทำให้พนักงานในองค์กรเกิดความเชื่อมั่นใจตัวผู้นำได้อย่างแท้จริง
เทคนิคในการสื่อสารที่ดีมีอะไรบ้าง ลองมาดูกันครับ
  • ใช้วิธีการสื่อสารที่แตกต่างกันไปตามเรื่อง และคนที่จะสื่อด้วย เวลาที่พูดกับคนกลุ่มใหญ่ ก็ใช้แนวทางที่แตกต่างกับการพูดกับพนักงานเป็นรายบุคคล หรือแม้แต่พนักงานแต่ละคนเองก็ตาม ก็จะต้องใช้วิธีการในการสื่อสารที่แตกต่างกันไป เพราะแต่ละคนนั้นไม่เหมือนกัน ไม่ควรใช้วิธีการเดียวกันกับพนักงานแต่ละคนที่มีความแตกต่างกัน
  • ฟังอย่างเข้าใจในสิ่งที่คนอื่นพูด การ ที่จะสื่อสารให้คนอื่นเข้าใจได้นั้น ก็ต้องเข้าใจคนอื่นก่อน ดังนั้น ผู้นำที่ดีจะเป็นคนที่ตั้งใจฟัง และเข้าใจในสิ่งที่ผู้พูดกำลังสื่อ จะไม่คิดไปเอง หรือไม่เอามุมมองของตนเองไปยัดเยียดใส่คนอื่น แต่จะพยายามเข้าใจมุมมองของผู้อื่นที่สื่อมา และเมื่อเกิดความเข้าใจแล้ว ก็จะทำให้การสื่อสารยิ่งตรงประเด็นมากขึ้น และจะทำให้คนอื่นรู้สึกว่า คนนี้เป็นผู้นำที่น่าคุยด้วย และเข้าใจในสิ่งที่คนอื่นพูดจริงๆ ไม่เหมือนกับบางคน ปากก็บอกกว่าเข้าใจ แต่เอาเข้าจริงๆ ก็สรุปไปอีกทางหนึ่ง และพูดออกนอกประเด็นไปโดยที่ไม่เคยเข้าใจในสิ่งที่คนอื่นพูดเลย
  • ให้คนอื่นพูดให้จบก่อน นี่ก็เป็นสิ่งที่สำคัญอีกประการหนึ่งสำหรับทักษะการสื่อสารของคนที่เป็นผู้ นำที่ดี ปกติผู้นำที่ดีจะไม่พูดแทรก ตัดบท เปลี่ยนเรื่องทันที แต่จะรอให้ผู้พูดพูดจนจบ โดยใช้ภาษากายแสดงออกว่า ตนเองกำลังตั้งใจฟังอยู่ เช่นพยักหน้า ยิ้ม สบตา หรือมีคำพูดเสริมเล็กๆ แม้ว่าเรื่องนั้นจะเป็นเรื่องที่ทราบอยู่แล้ว ก็จะไม่แสดงอาการตัดบทใดๆ แต่จะให้เกียรติอีกฝ่ายหนึ่ง ให้เขาพูดให้จบ แล้วค่อยตอบ
  • รู้จักที่จะใช้คำถาม ผู้ นำที่ดีจะเรียนรู้วิธีการใช้คำถาม ซึ่งโดยทั่วไปก็มักจะเป็นการใช้คำถามแบบปลายเปิด เช่น คำถาม ทำไม เพราะอะไร อย่างไร แบบไหน ที่ไหน ฯลฯ แต่จะไม่พยายามใช้คำถามปลายปิด เช่น ใช่ หรือไม่ เพราะไม่ทำให้เกิดประโยชน์ในการต่อยอดความคิดอะไรเลย ถ้าเราใช้คำถามได้ถูกต้อง เราก็จะได้คำตอบที่ถูกต้องเช่นกัน
  • หลีกเลี่ยงคำพูดประชดประชัน ผม ยังไม่เคยเห็นผู้นำดีๆ ที่ใช้พูดประชดประชันตลอดเวลา หรืออยู่ต่อหน้าคนอื่น หรือใช้คำพูดแดกดัน กระทบกระเทียบ เพื่อให้ตนเองสะใจ และให้ผู้อื่นรู้สึกเจ็บๆ แสบๆ คันๆ จริงๆ แล้ว ไม่มีประโยชน์อะไรเลย มีแต่จะสร้างความขัดแย้ง และสร้างความเจ็บช้ำน้ำใจให้กับผู้อื่นมากกว่า
นอกจากนั้นแล้วก็คงเป็นเรื่องของการใช้น้ำเสียงที่สุภาพ ไพเราะ น่าฟัง และใช้ภาษากายที่เหมาะสมประกอบการสื่อสารในแต่ละครั้ง
ลองพิจารณาถึงลักษณะในการสื่อสารของเราเองดูก็ได้ครับ แล้วลองดูว่า จะต้องพัฒนาในประเด็นไหนบ้าง เพื่อให้เรามีทักษะในการสื่อสารที่ดีขึ้น เพราะการสื่อสารที่ดีนั้นเป็นประตูไปสู่ความสัมพันธ์ที่ดี และเมื่อเกิดความสัมพันธ์ที่ดีแล้ว ทุกสิ่งทุกอย่างในการบริหารจัดการคน ก็จะเกิดสิ่งดีๆ ตามมาด้วยเช่นกันครับ

วันพฤหัสบดีที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

พวกผู้นำที่เก่งมากๆ เขาชอบให้ลูกน้องเถียง


"ผมสังเกตเห็นว่าพวกผู้นำที่เก่งมากๆ เขาชอบให้ลูกน้องเถียง เขาเชื่อว่าเขาจะได้อีกมุมหนึ่ง ล่าสุดเขา (ซิคเว่) ยังบอกว่าเราน่าจะตั้ง Unit ทำเรื่องอินเทอร์เน็ต ผมก็เถียงว่าอย่าตั้งดีกว่า แค่นี้เราก็ Train คนไม่ไหว ผมว่าเรา Focus ดีกว่า เขาก็ยังพูดว่าดีที่เถียง เป็น Culture ที่ดีมากที่มีคนกล้าเถียงซีอีโอ" - ธนา เธียรอัจริยะ อดีตผู้บริหาร DTAC

ถามลูกน้อง : คุณเคยเถียงหัวหน้าคุณมั้ย ทำไมถึงเถียง เถียงเพื่ออะไร เถียงแล้วได้อะไร ไม่กลัวนายเขม่นหรือไง เงินเดือนโบนัสปลายปีน่ะ ไม่อยากได้เยอะรึไงฮ้าาาา

ถามหัวหน้า : คุณเคยปล่อยให้ลูกน้องเถียงคุณมั้ย คุณไม่มีอำนาจบารมีให้น้องเกรงกลัวเลยเหรอ แล้วคุณจัดการกับพวกที่เถียงบ่อย ๆ ยังไง ให้ผลงานแย่ ๆ มันเลยดีมั้ย ทีหลังมันจะได้่ไม่กล้า

เอาจริง ๆ คนส่วนใหญ่ไม่ค่อยกล้าที่จะเถียงหัวหน้าแน่ ๆ แต่สิ่งทีจะทำให้เกิดบรรยากาศของการกล้าที่จะเถียงกันก็คือ "การเปิดใจรับฟังความคิดเห็นของหัวหน้า" นี่ล่ะครับ

Hey boss, open your mind please.....

ถ้าหัวหน้ากล้าที่จะเปิดใจรับฟังความคิดเห็นของลูกน้อง สิ่งที่คุณจะได้รับกลับมาจากลูกน้องก็คือความใกล้ชิดสนิทสนม กล้าที่จะเสนอแนวทางใหม่ ไม่กลัวที่จะพูดความรู้สึกของตนเอง หัวหน้าก็จะรู้จักลูกน้องมากยิ่งขึ้น ในขณะที่ลูกน้องก็รู้สึกว่าตนเองมีคุณค่ามากยิ่งขึ้น มีความผูกพันกับทีมกับองค์กรมากขึ้น ทีมก็จะแข็งแรงขึ้นตามไปด้วย

และการเปิดโอกาสให้ลูกน้องได้แสดงความเห็นนี่ล่ะครับ ที่ทำให้เกิดนวัตกรรมและแนวทางการทำงานใหม่ ๆ ที่มีประสิทธิภาพมากกว่าเดิมมานักต่อนัก

แต่ข้อเสียก็มีนะครับ ยิ่งมากคนก็มากความ เอาแบบเดิมสั่งฉับทีเดียวได้งานเลยไม่ดีกว่าเหรอ ......เป็นหัวหน้าต้องคิดเป็นครับ งานแบบไหน โอกาสแบบไหนที่คุณควรเปิดโอกาสลูกน้องแสดงความคิดเห็น งานแบบไหนที่คุณควรออกคำสั่งแล้วให้ทุกคนทำตาม เพราะไม่ใช่ทุกสถานการณ์ที่จำเป็นจะต้องมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นหรือระดม สมองกัน

แต่เมื่อไหร่ก็ตามที่คุณจะสร้างบรรยากาศของการเถียงกันเพื่อแลกเปลี่ยนความ คิดเห็น คุณต้องรู้จัก "ฟังอย่างตั้งใจ ไม่ใช่แค่ได้ยิน" ลูกน้องพูดอะไรได้แต่พยักหน้า แต่คุณได้ตัดสินในใจไปแล้วว่าจะเลือกทำแบบไหน แบบนี้เสียเวลาครับ เสียอารมณ์ เสียความรู้สึกด้วย รวมถึงจะต้องไม่ Kill Idea ของลูกน้องด้วยนะครับ อย่าตัดบท แต่อดทนฟังเค้าให้จบ คุณอา่จจะเจออะไรดี ๆ ในความคิดของเค้าก็ได้ อุตส่าห์จ้างเค้ามาทำงานด้วย ตอนจ้างก็เลือกมาอย่างดี ใช้ประโยชน์จากเค้าให้เต็มที่กันด้วยนะครับ

การเปิดใจ (Open Mind) มันฝึกฝนกันได้นะครับ ต้องเริ่มที่หัวหน้า จะให้ดีเริ่มที่เบอร์ 1 ขององค์กร แล้วมันจะค่อย ๆ ขยายวงไปทั้งองค์กร ซึ่งรับรองได้ว่าองค์กรคุณจะบรรยากาศดีขึ้นอย่างแน่นอนครับ

ที่มา : พลิกแบรนด์ ธนา เธียรอัจฉริยะ (http://noobhoon.blogspot.com/2015/11/blog-post_29.html)

วันพุธที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

เลี้ยงลูกให้เป็น อย่างนกอินทรีย์


เลี้ยงลูกให้เป็น อย่างนกอินทรีย์…
พ่อแม่นกอินทรีย์ พอจะวางไข่ พ่อแม่นกก็ช่วยกันทำรัง มันจะทำรังแบบไหนลองอ่านดู
 
มันไปเอาแผ่นหินแผ่นใหญ่พอประมาณ บาง ๆ มาวางบนต้นไม้ใหญ่ และสูง เป็นชั้นแรก
มันไปเอากิ่งไม้ใหญ่มาวางทับบนแผ่นหินเป็นชั้นที่ 2
มันไปเอา หนามแหลมมาวางทับกิ่งไม้ใหญ่เป็นชั้นที่ 3
มันไปเอาใบไม้มาวางทับหนามแหลมเป็นชั้นที่ 4
สุดท้ายมันสลัดขนของมันวางทับเป็นขั้นตอนสุดท้าย บนสุด

และมันก็วางไข่ไว้ในรังอันอ่อนนุ่มของขนแม่มันเมื่อไข่ได้ฟักออกเป็นตัวเล็ก ๆ มันก็หาอาหารให้ลูกกินจนอิ่มเมื่อเวลาผ่านไป มันดูว่าลูกพอจะแข็งแรง มันก็จะเอาขนนกชั้นบนสุดออกจนหมด ทำให้ลูกนกรู้สึกตัวเองว่ามันเจอใบไม้แล้ว แข็งจัง ไม่นุ่มเหมือนขนนกที่เคยอยู่

 
หลายวันต่อมา แม่มันก็ค่อย ๆ รื้อใบไม้ออกอีก ก็เจอหนามแหลม ทำให้ลูกนกรู้สึกตัวเองว่าหนามแหลมคมทิ่มแทงตัวตลอดเวลา ทุกครั้งที่พลิกตัว ก็ต้องค่อย ๆอยู่
 
หลายวันต่อมา แม่มันก็ค่อย ๆ รื้อหนามแหลมออกจนหมด ทำให้ลูกนกรู้สึกตัวเองว่า ยืนบนกิ่งไม้ ต้องยืนทรงตัวดี ๆ ไม่อย่างนั้นก็จะตกลงพื้นดินได้ ความสูงของต้นไม้
 
และหลายวันต่อมา เมื่อแม่นกได้ฝึกความอดทนทุกอย่างให้ลูกนกได้สัมผัสแล้ว แม่นกก็รื้อแผ่นหินทิ้ง ก็เหลือแต่กิ่งต้นไม้ ซึ่งไม่สามารถอยู่เป็นรังพักได้อีกแล้ว

แม่นกก็จับลูกบินไปในอากาศที่สูงมากๆ แล้วปล่อยลูกนกลงมา ลอยละลิ่ว เพราะลูกนกยังกางปีกบินไม่เป็น ก็ตกลงมา ซึ่งแม่นกก็คอยดูลูกอยู่ พอลูกเกือบตกถึงพื้น แม่นกก็บินมาโฉบลูกขึ้นไปข้างบนอีก และปล่อยลงมาอีก ทำอย่างนี้เรื่อย ๆ หลาย ๆ ครั้ง จนลูกนกเริ่มกางปีกลอย และสามารถบินอยู่ในอากาศได้

ต่อจากนั้นแม่นกจะฝึกพาลูกออกหากินทุกวัน จนลูกรู้จักหากินได้ พ่อ-แม่นกก็จะบินหนีลูกนกไปไกลแสนไกล โดยไม่กลับมาหาลูกนกอีกเลย
 
เพราะมันถือว่าได้ทำหน้าที่ให้ลูกดีที่สุดแล้ว ลูกสามารถที่จะอยู่ด้วยตัวเองได้แล้วนั่นเอง
เพราะแม่ได้ฝึกทดสอบความอดทน เลี้ยงให้ลูกรู้ความเปลี่ยนแปลงในการอยู่แต่ละขั้นตอนหมดแล้ว และลูกก็ได้สอบผ่านทุกขั้นตอนแล้ว

 

เห็นไหมว่า พ่อแม่นกอินทรีย์ สอนลูกให้แข็งแกร่ง เด็ดเดี่ยว เข้มแข็ง กล้าหาญได้ดีมาก เพราะฉะนั้นเราควรสอนลูกให้อยู่กับธรรมชาติให้ได้ สอนให้ช่วยตัวเอง เข้มแข็ง อดทน รู้จักกินของที่มี
เพราะพ่อแม่ไม่ได้อยู่เลี้ยงดูลูกได้ตลอดไปนั่นเอง ทุกคนต้องตาย เป็นเรื่องปกติ
 
อย่าสอนลูกให้เป็นนกกระจาบก็แล้วกัน 
เพราะนกกระจาบสร้างรังอยู่อย่างสวยงาม อยู่กับพ่อ-แม่อยู่กับรังตลอดไป จะเห็นว่าเป็นครอบครัวใหญ่ไปเลย ร้องหากันเสียงดัง ไปไหนก็ไปกันเป็นขบวน เวลาตกใจตื่นอะไร ก็วิ่งกันแตกรังอย่างไม่เป็นท่าเป็นทางเลย
 
แสดงให้เห็นว่า ใจอ่อน อ่อนแอ ช่วยตัวเองไม่ได้ ต้องอาศัยผู้อื่นอยู่ตลอดเวลา ไม่เข้มแข็ง ไม่อดทน ไม่ต่อสู้ อยู่ตัวเดียวไม่ได้…
 
ขอขอบคุณเนื้อหาจาก : สาระรอบรู้ ทั่วทุกมุมโลก

We learn from the wolf! การเดินเป็นฝูงของหมาป่า

 We learn from the wolf! การเดินเป็นฝูงของหมาป่า

1. สามตัวแรก จะเป็นตัวที่แก่ หรือ ป่วย พวกมันจะนำทางให้ฝูง มิฉะนั้น พวกมันจะถูกทิ้งและพลัดหลงจากฝูง หากโดนบุกทำร้าย พวกมันพร้อมจะพลีชีพเพื่อฝูง
2. ห้าตัวที่ตามมาจากกลุ่มแรก จะเป็นพวกที่แข็งแรงที่สุด
3. กลุ่มตรงกลาง จะเป็นสมาชิกที่เหลือของฝูง
4. กลุ่มปิดท้าย จะเป็นอีกห้าตัวที่แข็งแรงกว่า
5. ท้ายสุด โดดเดี่ยว คือ จ่าฝูง ณ จุดนั้น มันจะสามารถควบคุมทุกอย่างของทั้งฝูงได้ ทั้งการเลือกทางเดินและคาดการณ์การโจมตีของปรปักษ์
6. ฝูงจะปฏิบัติตามจังหวะการเดินของตัวที่อายุมากและการสั่งการของจ่าฝูง โดยที่จะช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และไม่ทอดทิ้งกัน