แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ Leadership แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ Leadership แสดงบทความทั้งหมด

วันศุกร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

ผู้นำที่ดีควรจะมีเทคนิคในการสื่อสารอย่างไร


เมื่อสองวันก่อน ได้มีโอกาสไปนั่งฟังผู้บริหารระดับสูงของธุรกิจแห่งหนึ่งที่ขึ้นมาแถลง นโยบายของบริษัท และเปิดโอกาสให้พนักงานได้พูดคุยสอบถาม และท่านก็ตอบข้อสงสัย ตอบข้อซักถามพนักงาน พองานจบ ลงจากเวที ก็มีพนักงานอีกกลุ่มหนึ่งที่เดินเข้ามาพูดคุยและสอบถาม ซึ่งท่านเองฟัง พยักหน้า ยิ้ม และตอบคำถามด้วยความใจเย็น ซึ่งภาพรวมที่แสดงออกมานั้น แสดงให้เห็นถึงภาวะผู้นำอย่างเต็มเปี่ยม


ผมนั่งสังเกตดูปฏิกิริยาของพนักงานที่มาร่วมงาน ต่างก็แสดงออกถึงความเชื่อมั่น และความมั่นใจในตัวผู้นำของเขาอย่างมาก ก็เลยมานั่งคิดๆ ดูว่า คนที่เป็นผู้นำที่ดีนั้น จะต้องมีเทคนิคในการสื่อสารที่ดีมากๆ ที่สามารถทำให้พนักงานในองค์กรเกิดความเชื่อมั่นใจตัวผู้นำได้อย่างแท้จริง
เทคนิคในการสื่อสารที่ดีมีอะไรบ้าง ลองมาดูกันครับ
  • ใช้วิธีการสื่อสารที่แตกต่างกันไปตามเรื่อง และคนที่จะสื่อด้วย เวลาที่พูดกับคนกลุ่มใหญ่ ก็ใช้แนวทางที่แตกต่างกับการพูดกับพนักงานเป็นรายบุคคล หรือแม้แต่พนักงานแต่ละคนเองก็ตาม ก็จะต้องใช้วิธีการในการสื่อสารที่แตกต่างกันไป เพราะแต่ละคนนั้นไม่เหมือนกัน ไม่ควรใช้วิธีการเดียวกันกับพนักงานแต่ละคนที่มีความแตกต่างกัน
  • ฟังอย่างเข้าใจในสิ่งที่คนอื่นพูด การ ที่จะสื่อสารให้คนอื่นเข้าใจได้นั้น ก็ต้องเข้าใจคนอื่นก่อน ดังนั้น ผู้นำที่ดีจะเป็นคนที่ตั้งใจฟัง และเข้าใจในสิ่งที่ผู้พูดกำลังสื่อ จะไม่คิดไปเอง หรือไม่เอามุมมองของตนเองไปยัดเยียดใส่คนอื่น แต่จะพยายามเข้าใจมุมมองของผู้อื่นที่สื่อมา และเมื่อเกิดความเข้าใจแล้ว ก็จะทำให้การสื่อสารยิ่งตรงประเด็นมากขึ้น และจะทำให้คนอื่นรู้สึกว่า คนนี้เป็นผู้นำที่น่าคุยด้วย และเข้าใจในสิ่งที่คนอื่นพูดจริงๆ ไม่เหมือนกับบางคน ปากก็บอกกว่าเข้าใจ แต่เอาเข้าจริงๆ ก็สรุปไปอีกทางหนึ่ง และพูดออกนอกประเด็นไปโดยที่ไม่เคยเข้าใจในสิ่งที่คนอื่นพูดเลย
  • ให้คนอื่นพูดให้จบก่อน นี่ก็เป็นสิ่งที่สำคัญอีกประการหนึ่งสำหรับทักษะการสื่อสารของคนที่เป็นผู้ นำที่ดี ปกติผู้นำที่ดีจะไม่พูดแทรก ตัดบท เปลี่ยนเรื่องทันที แต่จะรอให้ผู้พูดพูดจนจบ โดยใช้ภาษากายแสดงออกว่า ตนเองกำลังตั้งใจฟังอยู่ เช่นพยักหน้า ยิ้ม สบตา หรือมีคำพูดเสริมเล็กๆ แม้ว่าเรื่องนั้นจะเป็นเรื่องที่ทราบอยู่แล้ว ก็จะไม่แสดงอาการตัดบทใดๆ แต่จะให้เกียรติอีกฝ่ายหนึ่ง ให้เขาพูดให้จบ แล้วค่อยตอบ
  • รู้จักที่จะใช้คำถาม ผู้ นำที่ดีจะเรียนรู้วิธีการใช้คำถาม ซึ่งโดยทั่วไปก็มักจะเป็นการใช้คำถามแบบปลายเปิด เช่น คำถาม ทำไม เพราะอะไร อย่างไร แบบไหน ที่ไหน ฯลฯ แต่จะไม่พยายามใช้คำถามปลายปิด เช่น ใช่ หรือไม่ เพราะไม่ทำให้เกิดประโยชน์ในการต่อยอดความคิดอะไรเลย ถ้าเราใช้คำถามได้ถูกต้อง เราก็จะได้คำตอบที่ถูกต้องเช่นกัน
  • หลีกเลี่ยงคำพูดประชดประชัน ผม ยังไม่เคยเห็นผู้นำดีๆ ที่ใช้พูดประชดประชันตลอดเวลา หรืออยู่ต่อหน้าคนอื่น หรือใช้คำพูดแดกดัน กระทบกระเทียบ เพื่อให้ตนเองสะใจ และให้ผู้อื่นรู้สึกเจ็บๆ แสบๆ คันๆ จริงๆ แล้ว ไม่มีประโยชน์อะไรเลย มีแต่จะสร้างความขัดแย้ง และสร้างความเจ็บช้ำน้ำใจให้กับผู้อื่นมากกว่า
นอกจากนั้นแล้วก็คงเป็นเรื่องของการใช้น้ำเสียงที่สุภาพ ไพเราะ น่าฟัง และใช้ภาษากายที่เหมาะสมประกอบการสื่อสารในแต่ละครั้ง
ลองพิจารณาถึงลักษณะในการสื่อสารของเราเองดูก็ได้ครับ แล้วลองดูว่า จะต้องพัฒนาในประเด็นไหนบ้าง เพื่อให้เรามีทักษะในการสื่อสารที่ดีขึ้น เพราะการสื่อสารที่ดีนั้นเป็นประตูไปสู่ความสัมพันธ์ที่ดี และเมื่อเกิดความสัมพันธ์ที่ดีแล้ว ทุกสิ่งทุกอย่างในการบริหารจัดการคน ก็จะเกิดสิ่งดีๆ ตามมาด้วยเช่นกันครับ

วันพุธที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

เลี้ยงลูกให้เป็น อย่างนกอินทรีย์


เลี้ยงลูกให้เป็น อย่างนกอินทรีย์…
พ่อแม่นกอินทรีย์ พอจะวางไข่ พ่อแม่นกก็ช่วยกันทำรัง มันจะทำรังแบบไหนลองอ่านดู
 
มันไปเอาแผ่นหินแผ่นใหญ่พอประมาณ บาง ๆ มาวางบนต้นไม้ใหญ่ และสูง เป็นชั้นแรก
มันไปเอากิ่งไม้ใหญ่มาวางทับบนแผ่นหินเป็นชั้นที่ 2
มันไปเอา หนามแหลมมาวางทับกิ่งไม้ใหญ่เป็นชั้นที่ 3
มันไปเอาใบไม้มาวางทับหนามแหลมเป็นชั้นที่ 4
สุดท้ายมันสลัดขนของมันวางทับเป็นขั้นตอนสุดท้าย บนสุด

และมันก็วางไข่ไว้ในรังอันอ่อนนุ่มของขนแม่มันเมื่อไข่ได้ฟักออกเป็นตัวเล็ก ๆ มันก็หาอาหารให้ลูกกินจนอิ่มเมื่อเวลาผ่านไป มันดูว่าลูกพอจะแข็งแรง มันก็จะเอาขนนกชั้นบนสุดออกจนหมด ทำให้ลูกนกรู้สึกตัวเองว่ามันเจอใบไม้แล้ว แข็งจัง ไม่นุ่มเหมือนขนนกที่เคยอยู่

 
หลายวันต่อมา แม่มันก็ค่อย ๆ รื้อใบไม้ออกอีก ก็เจอหนามแหลม ทำให้ลูกนกรู้สึกตัวเองว่าหนามแหลมคมทิ่มแทงตัวตลอดเวลา ทุกครั้งที่พลิกตัว ก็ต้องค่อย ๆอยู่
 
หลายวันต่อมา แม่มันก็ค่อย ๆ รื้อหนามแหลมออกจนหมด ทำให้ลูกนกรู้สึกตัวเองว่า ยืนบนกิ่งไม้ ต้องยืนทรงตัวดี ๆ ไม่อย่างนั้นก็จะตกลงพื้นดินได้ ความสูงของต้นไม้
 
และหลายวันต่อมา เมื่อแม่นกได้ฝึกความอดทนทุกอย่างให้ลูกนกได้สัมผัสแล้ว แม่นกก็รื้อแผ่นหินทิ้ง ก็เหลือแต่กิ่งต้นไม้ ซึ่งไม่สามารถอยู่เป็นรังพักได้อีกแล้ว

แม่นกก็จับลูกบินไปในอากาศที่สูงมากๆ แล้วปล่อยลูกนกลงมา ลอยละลิ่ว เพราะลูกนกยังกางปีกบินไม่เป็น ก็ตกลงมา ซึ่งแม่นกก็คอยดูลูกอยู่ พอลูกเกือบตกถึงพื้น แม่นกก็บินมาโฉบลูกขึ้นไปข้างบนอีก และปล่อยลงมาอีก ทำอย่างนี้เรื่อย ๆ หลาย ๆ ครั้ง จนลูกนกเริ่มกางปีกลอย และสามารถบินอยู่ในอากาศได้

ต่อจากนั้นแม่นกจะฝึกพาลูกออกหากินทุกวัน จนลูกรู้จักหากินได้ พ่อ-แม่นกก็จะบินหนีลูกนกไปไกลแสนไกล โดยไม่กลับมาหาลูกนกอีกเลย
 
เพราะมันถือว่าได้ทำหน้าที่ให้ลูกดีที่สุดแล้ว ลูกสามารถที่จะอยู่ด้วยตัวเองได้แล้วนั่นเอง
เพราะแม่ได้ฝึกทดสอบความอดทน เลี้ยงให้ลูกรู้ความเปลี่ยนแปลงในการอยู่แต่ละขั้นตอนหมดแล้ว และลูกก็ได้สอบผ่านทุกขั้นตอนแล้ว

 

เห็นไหมว่า พ่อแม่นกอินทรีย์ สอนลูกให้แข็งแกร่ง เด็ดเดี่ยว เข้มแข็ง กล้าหาญได้ดีมาก เพราะฉะนั้นเราควรสอนลูกให้อยู่กับธรรมชาติให้ได้ สอนให้ช่วยตัวเอง เข้มแข็ง อดทน รู้จักกินของที่มี
เพราะพ่อแม่ไม่ได้อยู่เลี้ยงดูลูกได้ตลอดไปนั่นเอง ทุกคนต้องตาย เป็นเรื่องปกติ
 
อย่าสอนลูกให้เป็นนกกระจาบก็แล้วกัน 
เพราะนกกระจาบสร้างรังอยู่อย่างสวยงาม อยู่กับพ่อ-แม่อยู่กับรังตลอดไป จะเห็นว่าเป็นครอบครัวใหญ่ไปเลย ร้องหากันเสียงดัง ไปไหนก็ไปกันเป็นขบวน เวลาตกใจตื่นอะไร ก็วิ่งกันแตกรังอย่างไม่เป็นท่าเป็นทางเลย
 
แสดงให้เห็นว่า ใจอ่อน อ่อนแอ ช่วยตัวเองไม่ได้ ต้องอาศัยผู้อื่นอยู่ตลอดเวลา ไม่เข้มแข็ง ไม่อดทน ไม่ต่อสู้ อยู่ตัวเดียวไม่ได้…
 
ขอขอบคุณเนื้อหาจาก : สาระรอบรู้ ทั่วทุกมุมโลก

We learn from the wolf! การเดินเป็นฝูงของหมาป่า

 We learn from the wolf! การเดินเป็นฝูงของหมาป่า

1. สามตัวแรก จะเป็นตัวที่แก่ หรือ ป่วย พวกมันจะนำทางให้ฝูง มิฉะนั้น พวกมันจะถูกทิ้งและพลัดหลงจากฝูง หากโดนบุกทำร้าย พวกมันพร้อมจะพลีชีพเพื่อฝูง
2. ห้าตัวที่ตามมาจากกลุ่มแรก จะเป็นพวกที่แข็งแรงที่สุด
3. กลุ่มตรงกลาง จะเป็นสมาชิกที่เหลือของฝูง
4. กลุ่มปิดท้าย จะเป็นอีกห้าตัวที่แข็งแรงกว่า
5. ท้ายสุด โดดเดี่ยว คือ จ่าฝูง ณ จุดนั้น มันจะสามารถควบคุมทุกอย่างของทั้งฝูงได้ ทั้งการเลือกทางเดินและคาดการณ์การโจมตีของปรปักษ์
6. ฝูงจะปฏิบัติตามจังหวะการเดินของตัวที่อายุมากและการสั่งการของจ่าฝูง โดยที่จะช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และไม่ทอดทิ้งกัน