แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ นิสัยการทำงาน แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ นิสัยการทำงาน แสดงบทความทั้งหมด

วันศุกร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

ผู้นำที่ดีควรจะมีเทคนิคในการสื่อสารอย่างไร


เมื่อสองวันก่อน ได้มีโอกาสไปนั่งฟังผู้บริหารระดับสูงของธุรกิจแห่งหนึ่งที่ขึ้นมาแถลง นโยบายของบริษัท และเปิดโอกาสให้พนักงานได้พูดคุยสอบถาม และท่านก็ตอบข้อสงสัย ตอบข้อซักถามพนักงาน พองานจบ ลงจากเวที ก็มีพนักงานอีกกลุ่มหนึ่งที่เดินเข้ามาพูดคุยและสอบถาม ซึ่งท่านเองฟัง พยักหน้า ยิ้ม และตอบคำถามด้วยความใจเย็น ซึ่งภาพรวมที่แสดงออกมานั้น แสดงให้เห็นถึงภาวะผู้นำอย่างเต็มเปี่ยม


ผมนั่งสังเกตดูปฏิกิริยาของพนักงานที่มาร่วมงาน ต่างก็แสดงออกถึงความเชื่อมั่น และความมั่นใจในตัวผู้นำของเขาอย่างมาก ก็เลยมานั่งคิดๆ ดูว่า คนที่เป็นผู้นำที่ดีนั้น จะต้องมีเทคนิคในการสื่อสารที่ดีมากๆ ที่สามารถทำให้พนักงานในองค์กรเกิดความเชื่อมั่นใจตัวผู้นำได้อย่างแท้จริง
เทคนิคในการสื่อสารที่ดีมีอะไรบ้าง ลองมาดูกันครับ
  • ใช้วิธีการสื่อสารที่แตกต่างกันไปตามเรื่อง และคนที่จะสื่อด้วย เวลาที่พูดกับคนกลุ่มใหญ่ ก็ใช้แนวทางที่แตกต่างกับการพูดกับพนักงานเป็นรายบุคคล หรือแม้แต่พนักงานแต่ละคนเองก็ตาม ก็จะต้องใช้วิธีการในการสื่อสารที่แตกต่างกันไป เพราะแต่ละคนนั้นไม่เหมือนกัน ไม่ควรใช้วิธีการเดียวกันกับพนักงานแต่ละคนที่มีความแตกต่างกัน
  • ฟังอย่างเข้าใจในสิ่งที่คนอื่นพูด การ ที่จะสื่อสารให้คนอื่นเข้าใจได้นั้น ก็ต้องเข้าใจคนอื่นก่อน ดังนั้น ผู้นำที่ดีจะเป็นคนที่ตั้งใจฟัง และเข้าใจในสิ่งที่ผู้พูดกำลังสื่อ จะไม่คิดไปเอง หรือไม่เอามุมมองของตนเองไปยัดเยียดใส่คนอื่น แต่จะพยายามเข้าใจมุมมองของผู้อื่นที่สื่อมา และเมื่อเกิดความเข้าใจแล้ว ก็จะทำให้การสื่อสารยิ่งตรงประเด็นมากขึ้น และจะทำให้คนอื่นรู้สึกว่า คนนี้เป็นผู้นำที่น่าคุยด้วย และเข้าใจในสิ่งที่คนอื่นพูดจริงๆ ไม่เหมือนกับบางคน ปากก็บอกกว่าเข้าใจ แต่เอาเข้าจริงๆ ก็สรุปไปอีกทางหนึ่ง และพูดออกนอกประเด็นไปโดยที่ไม่เคยเข้าใจในสิ่งที่คนอื่นพูดเลย
  • ให้คนอื่นพูดให้จบก่อน นี่ก็เป็นสิ่งที่สำคัญอีกประการหนึ่งสำหรับทักษะการสื่อสารของคนที่เป็นผู้ นำที่ดี ปกติผู้นำที่ดีจะไม่พูดแทรก ตัดบท เปลี่ยนเรื่องทันที แต่จะรอให้ผู้พูดพูดจนจบ โดยใช้ภาษากายแสดงออกว่า ตนเองกำลังตั้งใจฟังอยู่ เช่นพยักหน้า ยิ้ม สบตา หรือมีคำพูดเสริมเล็กๆ แม้ว่าเรื่องนั้นจะเป็นเรื่องที่ทราบอยู่แล้ว ก็จะไม่แสดงอาการตัดบทใดๆ แต่จะให้เกียรติอีกฝ่ายหนึ่ง ให้เขาพูดให้จบ แล้วค่อยตอบ
  • รู้จักที่จะใช้คำถาม ผู้ นำที่ดีจะเรียนรู้วิธีการใช้คำถาม ซึ่งโดยทั่วไปก็มักจะเป็นการใช้คำถามแบบปลายเปิด เช่น คำถาม ทำไม เพราะอะไร อย่างไร แบบไหน ที่ไหน ฯลฯ แต่จะไม่พยายามใช้คำถามปลายปิด เช่น ใช่ หรือไม่ เพราะไม่ทำให้เกิดประโยชน์ในการต่อยอดความคิดอะไรเลย ถ้าเราใช้คำถามได้ถูกต้อง เราก็จะได้คำตอบที่ถูกต้องเช่นกัน
  • หลีกเลี่ยงคำพูดประชดประชัน ผม ยังไม่เคยเห็นผู้นำดีๆ ที่ใช้พูดประชดประชันตลอดเวลา หรืออยู่ต่อหน้าคนอื่น หรือใช้คำพูดแดกดัน กระทบกระเทียบ เพื่อให้ตนเองสะใจ และให้ผู้อื่นรู้สึกเจ็บๆ แสบๆ คันๆ จริงๆ แล้ว ไม่มีประโยชน์อะไรเลย มีแต่จะสร้างความขัดแย้ง และสร้างความเจ็บช้ำน้ำใจให้กับผู้อื่นมากกว่า
นอกจากนั้นแล้วก็คงเป็นเรื่องของการใช้น้ำเสียงที่สุภาพ ไพเราะ น่าฟัง และใช้ภาษากายที่เหมาะสมประกอบการสื่อสารในแต่ละครั้ง
ลองพิจารณาถึงลักษณะในการสื่อสารของเราเองดูก็ได้ครับ แล้วลองดูว่า จะต้องพัฒนาในประเด็นไหนบ้าง เพื่อให้เรามีทักษะในการสื่อสารที่ดีขึ้น เพราะการสื่อสารที่ดีนั้นเป็นประตูไปสู่ความสัมพันธ์ที่ดี และเมื่อเกิดความสัมพันธ์ที่ดีแล้ว ทุกสิ่งทุกอย่างในการบริหารจัดการคน ก็จะเกิดสิ่งดีๆ ตามมาด้วยเช่นกันครับ

วันพฤหัสบดีที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

16 สัญญาณ(อันตราย) ที่บ่งบอกว่าคุณเป็นคนดีเกินไป และกำลังทำร้ายตัวเองอยู่โดยไม่รู้ตัว


16 สัญญาณ(อันตราย) ที่บ่งบอกว่าคุณเป็นคนดีเกินไป และกำลังทำร้ายตัวเองอยู่โดยไม่รู้ตัว

*1.คุณยอมให้คนอื่นแซงคิวเฉย ๆ : *ไม่มีเหตุผลให้คนอื่นแทรกทั้งที่ของของเขาเยอะกว่าคุณ

*2.ไม่มีอะไร “บกพร่อง” ในสายตาคุณเลย : *คุณจะคืนเงินที่แม่ค้าทอนมาเกินให้ แต่จะกล้ารบกวนพนักงานธนาคารให้จัดการเรื่องเงินในบัญชีหายไปแค่หนเดียวเท่า นั้น เพราะกลัวว่าจะรบกวนเกินไป หรือไม่กล้าปฏิเสธเวลาพนักงานแมคถามว่าคุณจะรับฟรายใหญ่ขึ้นไหม

*3.คุณขอโทษเร็ว “มาก” : *คุณรับผิดชอบทุกอย่าง แม้แต่ความหยาบคายและความผิดของคนอื่น

*4.คุณ “บริจาค” ทุกงาน : *ถ้ามีงานการกุศลอะไร คุณจะเป็นคนแรกของลิสต์ขอบริจาคและยังช่วยงานทุกคนไปทั่วด้วย

*5.คุณอ่อนไหวกับ “ความรู้สึกคนอื่น” มากเกินไป : *คนเรียกชื่อคุณผิดหรือเสิร์ฟอาหารผิดเมนู คุณจะไม่แก้ไขหรือขอเปลี่ยนจาน เพราะกลัวว่าจะทำร้ายความรู้สึกพวกเขา

*6.คุณ/โคตร /สุภาพ เป็นประเภทลุกให้ที่คนนั่งบนรถโดยสาร ทั้งที่ไม่มีที่จะยืนบนรถอีกแล้ว จับประตูให้คนอื่นหรือขอบคุณ และครับ/ค่ะ ทุกครั้ง

*7.ภาพลักษณะของคุณคือ “ไอ้อ่อน” : *เป็นบุคคลที่ใครจะวาน จะขอหรือจะทำอย่างไรก็ได้และรู้ว่าคุณไม่ตอบโต้หรือปฏิเสธแน่

*8.คุณสนแต่ว่าคนอื่นจะมีความสุขหรือไม่ : *เป็นคนที่จะซุกตัวล้างจานอยู่ในครัวทั้งที่เป็นปาร์ตี้ของตัวเอง หรือไม่ก็วิ่งวุ่นยกน้ำให้แขกทั้งที่เป็นเจ้างาน

*9.คุณปิดบัง “ความยินดี” ไม่อยู่ : *คุณจะชม ยกนิ้ว กล่าวคำดี ๆ เวลาใครทำอะไรได้ดี เหมือนมีรังสี “ยินดีด้วยนะ” ออกมาจากตัวคุณตลอดเวลา

*10.ถูกหลอกหลอนด้วย “อารมณ์เสียของคนอื่น” : *แม้คุณจะทำดีแค่ไหน แต่ถ้าอีกฝ่ายเป็นคนเจ้าอารมณ์และไม่ยิ้มแย้ม คุณอาจจะตื่นขึ้นมากลางดึกและคิดว่าเป็นความผิดของตัวเองและรู้สึกแย่ชนิด ข้ามวัน

*11ให้ทิปหนักมาก : *หรือให้ทิปเหมือนกฎหมายบังคับอย่างนั้น อย่าลืมว่าพนักงานเสิร์ฟเพียงแต่บริการคุณ ไม่ได้เป็นลูกจ้างคนที่ต้องไปให้เงินเดือนเสริมเขาอีกที

*12.ชื่อกลางของคุณคือ “รอบคอบ” : *ทุกเทศกาลจะส่งการ์ดให้ทุกคนไม่ตกหล่น และอาจเปลี่ยนทิชชูห้องน้ำใหม่ให้ห้องที่เพิ่งย้ายออกอีกด้วย

*13.คุณปกปิดทุกอย่างให้ใครสักคนเสมอ : *ตัวรักษาความลับชั้นดี แถมยังไม่ชักใบให้เรือเสียทั้งที่ควรจะชักตั้งนานแล้ว เช่น รู้ว่าบริษัทไม่ได้ขาดทุนแต่ไม่กล้าถามเรื่องโบนัส ทั้งที่บอสคุณสัญญาไว้ตั้งแต่ปีที่ก่อน

*14.คุณหลงกลพวก “แตหลอ” ง่ายมาก : *เห็นความดีคนง่ายแต่ไม่เห็นความเลวของพวกเขาเท่าไร ใครบีบน้ำตาหน่อย คุณก็เชื่อทันที

*15.ไม่ค่อยขอความช่วยเหลือ : *เพราะคิดว่าจะเป็นภาระให้คนอื่น แม้คนอื่นจะยินดีถมมันลงคุณก็ตาม

*16.คุณเป็นผู้ฟังที่ดี : *คุณสามารถฟังเพื่อนที่มีเวลาเล่าทุกอย่างในขณะที่ไม่เคยฟังอะไรคุณเลยหรือ แม้แต่คนสติไม่ดีที่บอกว่าฟ้าจะถล่มก็ยังยืนฟัง ทั้งหมดนี้เพราะไม่อยากทำร้ายความรู้สึกคนพูดนั่นเอง

(ขอบคุณข้อมูลจาก : yourtango)