แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ การบริหารการศึกษา แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ การบริหารการศึกษา แสดงบทความทั้งหมด

วันจันทร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

13 ข้อ ที่การศึกษาฟินแลนด์ ประสบความสำเร็จ


13 ข้อ ที่การศึกษาฟินแลนด์ ประสบความสำเร็จ
TAGS : การศึกษา ฟินแลนด์

ผู้ที่อยู่ในแวดวงการศึกษาคงทราบกันดีว่าฟินแลนด์ถูกยกย่องว่ามีการศึกษาที่ติดอันดับต้นๆ ของโลกมา โดยตลอด ซึ่งระบบการศึกษาของฟินแลนด์มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เรื่อยๆ เพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อผู้เรียนมากที่สุด ซึ่งล่าสุด สำนักข่าวต่างประเทศได้ระบุว่า ฟินแลนด์ยังเตรียมที่จะปรับการเรียนการสอนจากเรียนเป็นวิชา ไปเป็นเรียนตามหัวข้อด้วย
โดยนักเรียนที่นั่นจะไม่ต้องเรียน สังคม คณิตศาสตร์อย่างละชั่วโมง แต่จะเป็นการเรียนรู้ เช่น ชั่วโมงนี้เรียนด้านการบริการในร้านอาหาร เด็กๆก็จะได้ใช้ความสามารถแบบผสมผสาน ทั้งใช้การคิดเงิน การสื่อสารกับลูกค้า และการจัดการอารมณ์ด้วย

Sophia Faridi นักการศึกษาจากสหรัฐฯ ได้เข้าไปดูระบบการศึกษาของฟินแลนด์ และพบว่า 13 ข้อที่ทำให้การศึกษาฟินแลนด์ประสบความสำเร็จก็คือ

1. การเรียนที่ฟินแลนด์เน้นไปที่การเล่น เพราะคิดว่าเด็กสามารถเรียนรู้ได้ดีผ่านการเล่นและการค้นพบด้วยตนเอง ครูจึงไม่เพียงแต่อนุญาตให้เล่นได้แต่ยัง สนับสนุนให้เด็กๆ เล่นด้วย จึงไม่แปลกที่แม้จะอยู่ระดับมัธยมศึกษาแล้ว ยังจะเห็นเด็กโตนั่งเล่นวิดีโอเกมส์ที่ student center

2. การสอบไม่ได้เป็นไปแบบเอาเป็นเอาตาย โรงเรียนที่นั่นเชื่อว่า หากต้องเตรียมตัวอ่านหนังสือจนไม่มีเวลา จะทำให้ไม่เวลาคิดอย่างอิสระ แต่จะมีการประเมินความรับผิดชอบของเด็กตลอดการเรียนการสอนแทน

3. ความเชื่อใจ เป็นสิ่งที่ Faridi เห็นว่าแตกต่างที่สุดจากประเทศอื่น ๆ เพราะรัฐบาลของฟินแลนด์เชื่อมั่นในเขตการปกครองย่อย ๆ ของตนเอง และหน่วยปกครองย่อยก็เชื่อมั่นในโรงเรียน รวมไปถึงครู ครูก็ไว้ใจนักเรียนตัวเอง ผู้ปกครองจะก็เชื่อมั่นในครูมาก เทียบเท่ากับอาชีพแพทย์เลย

4. แต่ละโรงเรียนไม่แข่งกันเอง ไม่มีการจัดลำดับโรงเรียน เพราะเชื่อว่าทุกโรงเรียนนั้นดีเท่ากัน

5. การคัดเลือกก่อนที่จะเป็นครูนั้นเข้มงวด เหตุผลหนึ่งที่ครูได้รับความไว้วางใจมากเพราะการคัดเลือกนั้นเข้มงวดมาก ต้องเป็นระดับหัวกะทิเท่านั้นถึงจะได้เป็นครู และไม่ใช่ว่าแค่ได้คะแนนทดสอบสูงเท่านั้น ต้องผ่านการสัมภาษณ์ด้านศีลธรรม รวมถึงถามเรื่องแรงบัลดาลใจในการเป็นครูด้วยและจะต้องจบปริญญาโทเท่านั้น

6. เวลาส่วนตัวของเด็กนั้นสำคัญ เพราะทุก ๆ 45 นาที เด็กจะมีสิทธิพักส่วนตัว 15 นาทีตามกฎหมาย เพราะเชื่อว่าการเรียนรู้นั้นจะสำเร็จได้หากผู้เรียนได้รับการผ่อนคลายเป็น ช่วงเวลา

7. เด็กไม่ต้องเข้าโรงเรียนจนถึงอายุ 7 ขวบ และระยะเวลาเรียนระหว่างวันยังสั้นอีกด้วย เช่น เรียนประมาณ 4-5 ชั่วโมงต่อวัน ในระดับประถมศึกษา

8. เน้นที่คุณภาพชีวิต ระบบการศึกษาฟินแลนด์เชื่อว่า ครูที่มีความสุขคือครูที่ดี และครูที่ทำงานหนักเกินไปจะไม่ใช่ครูของพวกเขา ซึ่งจะมีชั่วโมงสอนประมาณ 20 ชั่วโมงต่อสัปดาห์

9. เรียนสายไหนก็ได้รับการยอมรับ เมื่อหลังจากอายุ 16 ปีเด็กสามารถเลือกได้ว่าจะเรียนสายสามัญหรืออาชีพ แต่ทั้งสองสายได้รับการยอมรับสูงในสังคมฟินแลนด์ และสามารถต่อมหาวิทยาลัยได้

10. ระบบการศึกษามีมาตรฐานเดียวกัน ซึ่งครูจะเป็นผู้สอนตามหลักสูตร โดยแล้วแต่ครูจะสร้างสรรค์ แต่ยังอยู่ภายใต้มาตรฐานเดียวกันทั้งประเทศ

11. จะไม่มีการตัดสินเกรด จนถึง ป.4 เพราะเน้นการเรียนรู้มากกว่า

12. จริยธรรมจะถูกสอนตั้งแต่ยังเล็ก แม้เด็กเล็กจะเรียนจริยธรรมจากห้องเรียนสอนศาสนาอยู่แล้ว แต่ก็จะมีนักเรียนบางส่วนที่ไม่ได้นับถือศาสนา ก็จะต้องเข้าเรียนวิชาจริยธรรม

13. มีสิ่งแวดล้อมที่สนับสนุนความร่วมมือซึ่งกันและกัน โดยแต่ละห้องเรียนนั้นอาจมารวมกันในพื้นที่หนึ่งๆ เพื่อที่จะให้เด็กต่างระดับชั้นได้ร่วมเรียนรู้และแลกเปลี่ยนกันโดยไม่แบ่ง แยก รวมถึงครูยังได้ร่วมกันช่วยเป็นที่ปรึกษาให้เด็กๆเหล่านี้ด้วย

วันพุธที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

หลัก 7 ประการที่โรงเรียนควรทำให้เป็นกิจวัตรประจำวัน


หลัก 7 ประการที่โรงเรียนควรทำให้เป็นกิจวัตรประจำวัน
“Doing.!”.. The 7 principles of school Routine
บทความนี้ได้ “ดัดแปลง”เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพปัญหา และ การแก้ปัญหา ของสถานศึกษาในประเทศไทย ตามความเป็นจริง Real World ซึ่งสามารถ “สืบค้น”เพื่อหาข้อมูลเพิ่มเติมจากคำภาษาอังกฤษที่ให้ไว้

1.Every morning ceremonial flag pole คือ การเข้าแถวร้องเพลงชาติหน้าเสาธง การสวดมนต์ แผ่เมตตา และฟังการอบรมบ่มเพาะความดีงาม 5 นาทีทุกวันทำการ ใช้คำพูดเชิงบวก หรือ Positive remarks,เสริมกำลังใจ encouragement,ให้ความหวัง หรือ Give Hope ในการปฏิบัติตนเป็นคนดี ต่อตนเอง ครอบครัว และสังคม ถ้าไม่มีสนามหน้าเสาธงให้ใช้หน้าห้องเรียน..Home Room แทนกันไม่ได้ เพราะ Home Room มีไว้เพื่อชี้แนะหรือนัดหมายเป็นรายห้อง..และการอบรมในห้องประชุมสุดสัปดาห์ ก็เป็นการอบรมกรณีพิเศษ เช่น การเชิญวิทยากรจากภายนอก เป็นต้น..

2.Strengthen Self-discipline ฝึกฝนระเบียบวินัยประจำตน ด้วยคุณค่าของวิชา ลูกเสือ เนตรนารี ยุวกาชาด ทำความเข้าใจเข้าใจแก่นแท้และวัตถุประสงค์ที่แท้จริง...ออกแบบ Designวิธีอบรมคุณธรรมให้ไปถึงเป้าหมายหลักของวิชาเหล่านี้..เน้นจิตวิทยา วัยรุ่น..ออกแบบการเรียนการสอนที่เหมาะสม หรือ Design appropriate learning.
***การเรียนรู้คือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การอบรมสั่งสอนและการปฏิบัติด้านจิตใจ “ตามแบบพุทธวิธี According to Buddhist practices” และ หลักการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามหลักทฤษฏีพฤติกรรมศาสตร์ ของ B.F.Skinner เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพยิ่ง..และ มนุษย์เป็นสัตว์สังคมที่ต้องสอนให้เกิดการเรียนรู้เพื่อชีวิต Learn for Life และสามารถสอนได้เสมอ หากคุณครูสามารถเลือกหาวิธีสอนที่เหมาะสมกับ “คุณลักษณะเฉพาะ Characteristic” ของผู้เรียน”***

3.เรียนรู้เรื่อง อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก Convention on the Rights of the Child เรียนรู้สิทธิมนุษยชนและศาสนา Human Rights and Religion สอนหน้าที่พลเมือง และ วิชาศีลธรรม ในฐานะวิชาหลัก
***ครูต้องสอน และทำความเข้าใจในเรื่องเหล่านี้ให้ถ่องแท้ เพื่อ “สร้างกิจกรรมการเรียนรู้”ที่มีประสิทธิภาพ สร้างความเข้าใจ เรื่อง “สิทธิ และ หน้าที่พื้นฐานของความเป็นมนุษย์” สร้างเข้าใจสังคมประชาธิปไตย ที่ยอมรับนับถือความเป็นมนุษย์ที่มีศักยภาพของผู้อื่น รู้จักเลือกใช้ และรับเอา “คุณค่า” เพื่อสร้างสรรค์ความเจริญแห่งตน สังคม ประเทศชาติ และโลก อย่างมีวิจารณญาณ ด้วยความจริงใจ ***

4.Learner Centered มุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ยึดปรัชญาการเรียนรู้ของศตวรรษที่ 21.ซึ่งจุดหมายปลายทางแห่งการเรียนรู้คือ “คิดเป็น ทำเป็น และแก้ปัญหาได้” ในโลกแห่งความเป็นจริง Real World Environment.
***การเรียนการสอน จะประสบความสำเร็จ สร้างคุณสมบัติให้ผู้เรียน มีปัญญาเป็นของตนเองได้ ก็ต้องให้ผู้เรียน “ลงมือเรียนรู้จากภารกิจที่เขาทำด้วยตนเอง คือ Learning by Doing”..การเรียนรู้ด้วยวิธีนี้ คุณครูจึงต้องออกแบบสร้างกิจกรรมสำหรับการเรียนรู้ Teachers need to create activities designed for learning.ตามเนื้อหาของสาระการเรียนรู้เรื่องต่างๆ อันเหมาะสมกับ “วัย และวุฒิภาวะ” ของผู้เรียน..นี้คือภาระแท้จริงของครูแห่งศตวรรษที่ 21.***

5.Learning and Teaching Design ออกแบบการเรียนและออกแบบการสอนทุกครั้ง..และคิดค้นวิธีสอนรายวิชา ให้สอดคล้องกับสภาวการณ์ปัจจุบัน..ยึดหลักการเรียนรู้และสร้างความรู้ในตน “ด้วยตนเอง Self-learning”ตามหลักการ Constructivist Approach Theory เป็นหลักในการเรียนการสอน..และอ้างอิง กรวยประสบการณ์ หรือ Dale’s Cone of Experience ของ ดร.Edgar Dale แห่งมหาวิทยาลัย Ohio State University USA.
***ออกแบบการเรียนการสอนด้วยหลักการของ Backward Design และมีการเรียนการสอนด้วยกิจกรรมสำหรับการเรียนรู้ Activity for Learning ผู้เรียนปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยการลงมือทำ Activity Mission ด้วยตนเอง เรียกว่า Learning by doing นั่นเอง***

6.Solidarity and Unity ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันและมีเอกภาพ หมายความว่า คุณครู และผู้บริหารหลอมรวมใจเป็นหนึ่งเดียว..แต่ละฝ่ายเรียนรู้ “ซึ่งกันและกัน Each Other” เพื่อแสดงบทบาทที่ถูกต้องของตนเอง ในการกำหนดทิศทาง และ จุดหมายปลายทางการเรียนรู้ร่วมกัน
***ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน Solidarity and Unity นี่แหละ..คือกุญแจไขความสำเร็จขององค์กร..เราจึงเรียกร้องให้สถาบันการศึกษา โรงเรียน และสถานศึกษา “เอาความเป็นพี่น้องกลับคืนมาสู่สถาบัน เพื่อสร้างสร้างความสัมพันธ์อันดีในการทำงาน..สร้างระบบการบริหารและการ เรียนรู้ที่เป็นสากล ในรูปแบบ Cooperative and Collaborative Management และผู้บริหารเป็นผู้อำนวยความสะดวกให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพมากยิ่ง ขึ้น School director serves to facilitate the teaching and learning more effective.และคุณครูอำนวยความสะดวกให้นักเรียนสร้างปัญญาของตนเอง Teachers facilitate students to create their own wisdom. อันเป็นหลักการบริหารการเรียนการสอนแห่งศตวรรษที่ 21.***

7.Freedom to teach มีอิสระในการสอน และเลือกวิธีสอน “เพื่อให้ผู้เรียนสามารถสร้างปัญญาของตนเอง” ให้มีคุณภาพตรงตามปรัชญาการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21.นั่นคือ คิดเป็น ทำเป็น และแก้ปัญหาเป็น เมื่อมีปัญหาเข้ามาในชีวิตและการงาน
ท่านที่เคารพ แม้งานครูจะแสนเหนื่อยยาก ในการสอนคนเพื่อให้ “ศิษย์ของเรา” มีศักยภาพ เพียงพอที่จะ “เกิดปัญญาในการดำเนินชีวิตที่มีคุณค่า Learn for Life”..ดังนั้น คนเป็นครูด้วยจิตวิญญาณ “ย่อมไม่ท้อ เมื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า “มนุษย์ทุกคนสามารถสอนให้เปลี่ยนพฤติกรรมได้เสมอ Every man can be taught to change their behavior.”

ขอยืนยันอีกว่า...การเรียนรู้คือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม..วิธีการอบรมสั่ง สอนและการปฏิบัติด้านจิตใจ “ตามแบบพุทธวิธี According to Buddhist practices” และ หลักการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามหลักทฤษฏีพฤติกรรมศาสตร์ ของ B.F.Skinner เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพยิ่ง..และ มนุษย์เป็นสัตว์สังคมที่ “ต้องถูกสอน Must be taught”ให้เกิดการเรียนรู้เพื่อชีวิต Learn for Life และสามารถสอนได้เสมอ หากคุณครูเลือกหาวิธีสอนที่เหมาะสมกับ “คุณลักษณะเฉพาะ Characteristic” ของพวกเขา
อย่าลืมนะครับ "รีบปรับวิธีเรียน เปลี่ยนวิธีสอน ในวันนี้ เพื่ออยาคตที่ดีของชาติบ้านเมืองเรา" เวลาอาจมีไม่พอที่จะตามทันชาติอื่นเขาใน AEC นี้แล้ว....

สุทัศน์ เอกา......บอกความ

วันอังคารที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2557

ปัจจัยสำคัญของการบริหารประกอบด้วยอะไรบ้าง





ปัจจัยสำคัญของการบริหารประกอบด้วยอะไรบ้าง
            ปัจจัยบริหารที่สำคัญมี 4 อย่าง หรือที่เรียกว่า 4M ประกอบด้วย
            1. Man                        หมายถึง                      คน
            2. Money                    หมายถึง                      งบประมาณหรือเงิน
            3. Material                  หมายถึง                      วัสดุครุภัณฑ์ต่างๆ
            4. Management        หมายถึง                      การดำเนินการหรือการจัดการบริหาร

ที่มา : หนังสือหลักการบริหารการศึกษา
ผู้แต่ง : รศ.ดร.สมศักดิ์ คงเที่ยง

การบริหารการศึกษาคืออะไร




การบริหารการศึกษาคืออะไร
            การบริหารการศึกษา หมายถึง กิจกรรมต่างๆ ที่บุคคลหลายคนร่วมมือกันดำเนินการเพื่อพัฒนาสมาชิกของสังคมในทุกๆ ด้าน นับตั้งแต่บุคลิกภาพ ความรู้ ความสามารถ พฤติกรรมและคุณธรรม เพื่อให้ค่านิยมตรงกันกับความต้องการของสังคม โดยกระบวนการต่างๆ ที่อาศัยการควบคุมสิ่งแวดล้อมให้มีผลต่อบุคคลและอาศัยทรัพยากร ตลอดจนเทคนิคต่างๆ อย่างเหมาะสม เพื่อให้บุคคลพัฒนาไปตรงตามเป้าหมายของสังคมที่ตนดำเนินชีวิตอยู่

ที่มา : หนังสือหลักการบริหารการศึกษา
ผู้แต่ง : รศ.ดร.สมศักดิ์ คงเที่ยง