วันพฤหัสบดีที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

พวกผู้นำที่เก่งมากๆ เขาชอบให้ลูกน้องเถียง


"ผมสังเกตเห็นว่าพวกผู้นำที่เก่งมากๆ เขาชอบให้ลูกน้องเถียง เขาเชื่อว่าเขาจะได้อีกมุมหนึ่ง ล่าสุดเขา (ซิคเว่) ยังบอกว่าเราน่าจะตั้ง Unit ทำเรื่องอินเทอร์เน็ต ผมก็เถียงว่าอย่าตั้งดีกว่า แค่นี้เราก็ Train คนไม่ไหว ผมว่าเรา Focus ดีกว่า เขาก็ยังพูดว่าดีที่เถียง เป็น Culture ที่ดีมากที่มีคนกล้าเถียงซีอีโอ" - ธนา เธียรอัจริยะ อดีตผู้บริหาร DTAC

ถามลูกน้อง : คุณเคยเถียงหัวหน้าคุณมั้ย ทำไมถึงเถียง เถียงเพื่ออะไร เถียงแล้วได้อะไร ไม่กลัวนายเขม่นหรือไง เงินเดือนโบนัสปลายปีน่ะ ไม่อยากได้เยอะรึไงฮ้าาาา

ถามหัวหน้า : คุณเคยปล่อยให้ลูกน้องเถียงคุณมั้ย คุณไม่มีอำนาจบารมีให้น้องเกรงกลัวเลยเหรอ แล้วคุณจัดการกับพวกที่เถียงบ่อย ๆ ยังไง ให้ผลงานแย่ ๆ มันเลยดีมั้ย ทีหลังมันจะได้่ไม่กล้า

เอาจริง ๆ คนส่วนใหญ่ไม่ค่อยกล้าที่จะเถียงหัวหน้าแน่ ๆ แต่สิ่งทีจะทำให้เกิดบรรยากาศของการกล้าที่จะเถียงกันก็คือ "การเปิดใจรับฟังความคิดเห็นของหัวหน้า" นี่ล่ะครับ

Hey boss, open your mind please.....

ถ้าหัวหน้ากล้าที่จะเปิดใจรับฟังความคิดเห็นของลูกน้อง สิ่งที่คุณจะได้รับกลับมาจากลูกน้องก็คือความใกล้ชิดสนิทสนม กล้าที่จะเสนอแนวทางใหม่ ไม่กลัวที่จะพูดความรู้สึกของตนเอง หัวหน้าก็จะรู้จักลูกน้องมากยิ่งขึ้น ในขณะที่ลูกน้องก็รู้สึกว่าตนเองมีคุณค่ามากยิ่งขึ้น มีความผูกพันกับทีมกับองค์กรมากขึ้น ทีมก็จะแข็งแรงขึ้นตามไปด้วย

และการเปิดโอกาสให้ลูกน้องได้แสดงความเห็นนี่ล่ะครับ ที่ทำให้เกิดนวัตกรรมและแนวทางการทำงานใหม่ ๆ ที่มีประสิทธิภาพมากกว่าเดิมมานักต่อนัก

แต่ข้อเสียก็มีนะครับ ยิ่งมากคนก็มากความ เอาแบบเดิมสั่งฉับทีเดียวได้งานเลยไม่ดีกว่าเหรอ ......เป็นหัวหน้าต้องคิดเป็นครับ งานแบบไหน โอกาสแบบไหนที่คุณควรเปิดโอกาสลูกน้องแสดงความคิดเห็น งานแบบไหนที่คุณควรออกคำสั่งแล้วให้ทุกคนทำตาม เพราะไม่ใช่ทุกสถานการณ์ที่จำเป็นจะต้องมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นหรือระดม สมองกัน

แต่เมื่อไหร่ก็ตามที่คุณจะสร้างบรรยากาศของการเถียงกันเพื่อแลกเปลี่ยนความ คิดเห็น คุณต้องรู้จัก "ฟังอย่างตั้งใจ ไม่ใช่แค่ได้ยิน" ลูกน้องพูดอะไรได้แต่พยักหน้า แต่คุณได้ตัดสินในใจไปแล้วว่าจะเลือกทำแบบไหน แบบนี้เสียเวลาครับ เสียอารมณ์ เสียความรู้สึกด้วย รวมถึงจะต้องไม่ Kill Idea ของลูกน้องด้วยนะครับ อย่าตัดบท แต่อดทนฟังเค้าให้จบ คุณอา่จจะเจออะไรดี ๆ ในความคิดของเค้าก็ได้ อุตส่าห์จ้างเค้ามาทำงานด้วย ตอนจ้างก็เลือกมาอย่างดี ใช้ประโยชน์จากเค้าให้เต็มที่กันด้วยนะครับ

การเปิดใจ (Open Mind) มันฝึกฝนกันได้นะครับ ต้องเริ่มที่หัวหน้า จะให้ดีเริ่มที่เบอร์ 1 ขององค์กร แล้วมันจะค่อย ๆ ขยายวงไปทั้งองค์กร ซึ่งรับรองได้ว่าองค์กรคุณจะบรรยากาศดีขึ้นอย่างแน่นอนครับ

ที่มา : พลิกแบรนด์ ธนา เธียรอัจฉริยะ (http://noobhoon.blogspot.com/2015/11/blog-post_29.html)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น